การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

Main Article Content

ทองมี ละครพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา   2) หาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนสะสมรายวิชาคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการการบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานได้แก่ สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน และผลการเรียนของผู้เรียนในเทอมที่ผ่านมา


ผลการศึกษา พบว่า 1) สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.43  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์


2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( =3.98, S.D=0.46)  3) ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนสะสมรายวิชาคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีความสัมพันธ์กัน เชิงเส้นตรง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธิ์และ กัญญา วงศ์ไพศาลสิน. (2559). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเสริม วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนวัดเมตารางค์ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 12(2):65-74.

ณัชพร ศุภสมุทร์และคณะ. (2553). การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. แหล่งข้อมูล http://www.rajanukul.go.th/new/_admin/download/D000 0 071.pdf. 5 มิถุนายน 2560.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2551). ความบกพร่องทางสติปัญญา. แหล่งข้อมูล http://www.happyhomeclinic.com/sp05-mr.htm 25 มิถุนาคม 2560.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). เอกสารประกอบการเรียนการสอน รายวิชาการออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

โรงเรียนโสตศึกษาสุรินทร์. 2560. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. แหล่งข้อมูล http. //www.deafsurin.com/deafsurin/. 4 มีนาคม 2560.

วนาลี ทองชาติ. (2555). ลูกมีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Mental Retardation). แหล่งข้อมูล http:// taamkru. com/th/ลูกมีความบกพร่องทางสติปัญญา. 2 มิถุนายน 2560.

วิภาสิทธิ์ หิรัญรัตน์ นฤมล รักษาสุข และสุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบการเรียนแบบ ร่วมมือโดยใช้เทคนิคสแต็ดระหว่างห้องเรียนเสมือนแบบปกติกับห้องเรียนเสมือนที่มีการช่วย เสริมศักยภาพทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ (ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา) มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 10(3): 67-74.

สยาม ลิขิตเลิศ. 2549. อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมหรือยังกับการศึกษาไทย. เทคโนฯ-ทับแก้ว . 5(7): 96-102.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แหล่งข้อมูล http://www.obec.go.th/documents/ 18136. 12 กันยายน 2560.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

Hannafin, M. J., and Peck, K. L. 1987. The design, development, and evaluation of instructional software. New York, NY: Macmillan.