สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ตะวัน วรรณสินธ์
จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

วิจัยในครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัดและประสบการณ์การปฏิบัติราชการและ3.เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งหมด 298 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา 29 คน และข้าราชการครู 269 คน กำหนดสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากัน .98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีและเอฟ


ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก                2. เปรียบเทียบสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี  จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่าด้านหลักการบริหารตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และรายด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด  พบว่าโดยรวมและ โดยรวมไม่แตกต่างกัน  และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติราชการ สรุปผลได้ดังนี้ พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่าด้านหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  3. แนวทางสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัด


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี  คือ ด้านการกระจาย ควรมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจและความรับผิดชอบไปยังหัวหน้าฝ่ายอย่างชัดเจน ด้านการมีส่วนร่วมควรให้ผู้บริหาร ครู ชุมชน นักเรียนและกรรมการสถานศึกษาร่วมกันดำเนินการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษา ด้านหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน  ควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษามีบทบาทในการแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษา  ด้านการบริหารตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความเป็นกลาง รอบรู้ ทันโลกทันสมัย มองอย่างรอบด้านมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนำวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติได้ผู้บริหารมีหลักในการบริหารและพัฒนาตนเองตลอดเวลา  ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล  ควรมีระบบและกลไกการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนพัฒนาการศึกษาและการใช้ทรัพยากรในสถานศึกษา มีระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ชัดเจนและโปร่งใส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. แนวทางจัดการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ส่วนแผน
และงบประมาณทางการศึกษาท้องถิ่น สำนักประสานงานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
, 2549 ข.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.การจัดการศึกษาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนา
ระบบการศึกษาท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, 2555
จุรีรัตน์ ภาจันทร์คู.แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสาคาม, 2555.
ณรงค์ โภคสวัสดิ์. สภาพการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
2550.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาสน์การพิมพ์, 2543.
นันทนา คำคม และคนอื่นๆ. ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
, 2544.
นันทริก เที่ยงพนม. รูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนวัดฆ้องชัย
อำเภอลานสัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต :
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2549.
เยาวรัตน์ บุญปลอด. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาเขต
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2547.
วิเพลิน ชุมพล. ศึกษาการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของผู้บริหาร
โรงเรียนสังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2544.
วัชราภรณ์ บุญฟัก. ปัญหาการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2560.
ศิริรัตน์ ศิลมาตร. (2553). ปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมศาสนา, 2547.
สมศักดิ์ รอบคอบ. ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต:
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2548.
อารีย์ เกื้อกูล. ศึกษาการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2538.
นันทนา คำคม และคนอื่นๆ. ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยนเรศวร,2544.
อุทัย บุญประเสริฐ. รายงานการวิจัยการศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาใน
รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2542.
อุทัย บุญประเสริฐ. การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Base Management).
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
Edley, Jr. A World Class School for Every Child: The Challenge of Reform in.
Pennsylvania. Boston: Harward University Law School, 1992.