การศึกษาสภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พิชญาดา นวลสาย
ธิดารัตน์ จันทะหิน
จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำแนกตามเพศ อาชีพของผู้ปกครอง  สถานภาพทางครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว (3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาสภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 313 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test (Independent-Sample T Test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และการทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’s method)


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า นักเรียนส่วนมากเป็นเพศหญิง อาชีพของผู้ปกครองส่วนมากประกอบอาชีพรับจ้าง สถานภาพทางครอบครัวคือบิดา-มารดา อยู่ร่วมกัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว 5,000 – 10,000 บาท 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ส่วนด้านเหตุผลส่วนตัวอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อาชีพผู้ปกครอง สถานภาพทางครอบครัว โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาต่อสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ในทุกด้าน ส่วนด้านค่าธรรมเนียนการเรียนและค่าบริการต่างๆไม่พบเป็นปัญหา และยังได้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ในด้านค่าใช้จ่ายซึ่งไม่ค่อยเป็นปัญหา ถ้าหากสถานศึกษาเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับ แต่ถ้าแต่ละสถานศึกษามีความแตกต่างด้านค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ก็จะทำให้มีความได้เปรียบกว่าสถานศึกษาอื่นที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. การศึกษาการสร้างประชาคมอาเซียน 2558 The Role of Education in
Building an ASEAN Community 2015.
กลุ่มงานนโยบายกรมอาเซียนกระทรวงต่างประเทศ. (2558.) ไทยกับความคืบหน้าของการรวมตัวเป็น
ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) สืบค้นข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซต์
http://www.opdc.go.th/uploads/files/5 doc6YearOPDC.pdf เข้าถึงข้อมูลวันที่ 11
มีนาคม 2558.
กลุ่มนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548, 1 สิงหาคม). รายงานการวิจัยเส้นทางศึกษา
ด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553, จาก
http://www.v-cop.net/file/route.pdf
คณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2555). นโยบายเป้าหมายยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคน
อาชีวศึกษาสู่สากล พ.ศ. 2555 - 2569.
คณะบรรณาธิการ. การศึกษาการสร้างประชาคมอาเซียน 2558. เว็บไซต์สํานักความสัมพันธ์
ต่างประเทศกระทรวงศึกษาธิการ.สืบค้นจาก
http://www.bic.moe.go.th/th/images/stories/book/other/ASEAN/ed-building
ASEAN community.pdf เข้าถึงข้อมูลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558
คณะอนุกรรมาธิการการอาชีวศึกษา คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ,
2560: นิวส์มอนิเตอร์. แหล่งที่มาพฤษภาคม 2560).
ฐิติพงศ์ สายอยู่ (2557). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นสูงของนักศึกษาสาขางานเทคนิคยานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี. วิทยานิพนธ์.
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ใน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา
2560. งานบริหารงานทั่วไป สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสาน.
ณัฎฐพัชร์ มณีวรรณ , ภานุวั ฒน์ ศิรินุพงศ์ (2560). ปัจจัยส่งเสริมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการบริหาร
และการจัดการการศึกษา แขนงวิชาการบริหารการอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนวรรณ รักอู่. (2557). การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ
ปีการศึกษา 2556. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ.2560 – 2564. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
เมธาวี สุขปาน (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.วส.)ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี.
วิทยานิพนธ์. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
เรวดี นามทองดี. (2558). “การอาชีวศึกษากับการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในการเป็น
ประชาคมอาเซียน” สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8, 2
(พฤษภาคม – สิงหาคม)
รณชัย คงกะพันธ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนสาย
อาชีวศึกษาในจังหวัดภูเก็ตและพังงา. ทุนการวิจัย วิทยาลัยราชพฤกษ์.
วันฉัตร ทิพย์มาศ (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษา
เอกชนของนักเรียน ในเขตภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศษ.ด.)
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกรุงเทพมหานคร (2557). ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ในปี 2558ของประเทศไทย, เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี
2558 สืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์http://asean.bangkok.go.th/index.php/2014-02-15-14-
09-21/2558 เข้าถึงข้อมูล วันที่ 12 มีนาคม 2558.
ศูนย์ส่งเสริมการอาชีวศึกษาเอกชน. ข้อมูลสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคเอกชน. (2561, มกราคม).
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://vecp.vec.go.th/. (วันที่ค้นข้อมูล 13 มกราคม 2561).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. จำนวนนักเรียนแยกตามขนาดโรงเรียน.
(2561, มกราคม). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.mskyt28.info/home.php. (วันที่ค้นข้อมูล
13 มกราคม 2561).
Brown, M.L. (2001). Factor that Impact African American College Students’
Educational Persuits and Career Aspirations in Science. Journal of Research
In Science Teaching. 61(9): 21.
Almon Shumba et al and Matsidiso Naong. (2017). School of Entrepreneurship
And Business Development, Faculty of Management Sciences, Central
University of Technology, Free State, South Africa. 33(2): 169-178.