กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

Main Article Content

สมสะนิด วงคำจัน
สุชาติ บางวิเศษ
สุขุม พรมเมืองคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการ การนำกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว 2) เพื่อศึกษาสร้างกลยุทธ์ การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวโดยทำการวิจัย 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การศึกษาเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ การศึกษาพหุกรณี และการวิเคราะห์สภาพองค์การ ระยะที่ 2 ร่างการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การประชุมสนทนากลุ่ม การตรวจสอบร่างการสร้างกลยุทธ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการทดลองใช้กลยุทธ์ และระยะที่ 3 การประเมินกลยุทธ์ โดยการประเมินอิงเกณฑ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา  ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพปัจจุบัน และความต้องการ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.63, S.D. = 0.84)

  2. องค์ประกอบของกลยุทธ์ การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้องค์ประกอบการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ ตามพันธกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการบริการวิชาการ และ 4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม องค์ประกอบของกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าประสงค์ และองค์ประกอบกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ ประกอบด้วย 13 เป้าหมาย 24 กลยุทธ์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย และกลไกสู่การปฏิบัติและการประเมินผล 71 ตัวชี้วัด
    1. การประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ซึ่งผลการประเมินองค์ประกอบ ด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเหมาะสม โดยภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. ประมวลคำศัพท์ทางวิชาการศึกษา. โครงการเสริมสร้างการคุ้มครองการศึกษาระบบ แบ่งขั้นความรับผิดชอบ (เอดีบี/ยูเนสโก TA. 3871-LAO). นครหลวงเวียงจันทน์ : กรมจัดตั้งพนักงาน, 2547.
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. แผนพัฒนายุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติระยะยาวปี พ.ศ. 2544–2563. นครหลวง เวียงจันทน์ : โรงพิมพ์รัฐวิสาหกิจกระทรวงศึกษาธิการ, 2544.
--------------. แผนพัฒนายุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ 5 ปีครั้งที่ 6 แต่ปี 1539 - 2553. นครหลวงเวียงจันทน์ : โรงพิมพ์รัฐวิสาหกิจกระทรวงศึกษาธิการ, 2549.
--------------. แผนพัฒนายุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ 5 ปีครั้งที่ 7 แต่ปี 2554-2558. นครหลวงเวียงจันทน์ : โรงพิมพ์รัฐวิสาหกิจกระทรวงศึกษาธิการ, 2554.
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. เอกสารรายงานวาระกองประชุมสภาผู้บริหารการศึกษาของทั่วประเทศ. ว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาชั้นสูง (2559 - 2568). นครหลวงเวียงจันทน์ : โรงพิมพ์รัฐวิสาหกิจ กระทรวงศึกษาธิการ, 2558.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น, 2556.
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว. วิสัยทัศน์แต่ปี 2030 ยุทศาสตร์พัฒนาการศึกษา 2016-2025 และแผนพัฒนา (2016-2020) ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว. นครหลวงเวียงจันทน์ : มหาวิทยาล้ยแห่งชาติลาว, 2558.
_______. แผนพัฒนาแต่ปี 2559 - 2563). นครหลวงเวียงจันทน์ : โรงพิมพ์นครหลวงเวียงจันทน์, 2559.
_______. โครงสร้างการบริหารงาน. มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว : โรงพิมพ์นครหลวงเวียงจันทน์มหาวิทยาลัย
แห่งชาติลาว ครบรอบ 10 ปี, 2006.
สุชาติ บางวิเศษ. ข้อเสนอเซิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
สุชาติ บางวิเศษ และศักดินาภรณ์ นันที. “ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,” วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6, 21 (ตุลาคม-ธันวาคม 2560) : 184-193.
Anonymous, H.K.. Human Resource Management. Core competencies. Bennett, Marianne B.1984., 1997.
Spencer, L.M. and S.M.. Spencer. Competence at Work : Model for Superior Performance. New York : John Wiley & Sons, Inc.., 1993.