การประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

กิตติพงษ์ โพธิ์มาตย์

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินด้านกระบวนการ และ 4) ประเมินด้านผลผลิต ของโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ทําการศึกษาจากประชากรทั้งหมดซึ่งได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา พนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 2 คน พนักงานครูเทศบาล จํานวน 27 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 15 คน รวม 44 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 534 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามเพื่อประเมินโครงการจากผู้บริหารสถานศึกษา พนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการสถานศึกษา   ขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 สอบถามเพื่อประเมินโครงการจากนักเรียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของประชากร (m) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)


             ผลการวิจัยพบว่า


             ผลการประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านดำเนินการตามนโยบายและแผนพัฒนาสถานศึกษา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนสนใจการอ่านอย่างสม่ำเสมอ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการรักการอ่านในสถานศึกษามีการวางแผนนโยบายการดำเนินการไว้ชัดเจน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณในการดำเนินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาเพียงพอ 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของผู้บริหารสถานศึกษา พนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการจัดเตรียมด้านอาคารสถานที่  สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เพียงพอและเหมาะสม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาให้พนักงานครูเทศบาลทุกคน ผลการประเมินโครงการของนักเรียน ด้านกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการประสานงานกับพนักงานครูเทศบาลและนักเรียนในการจัดโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การดำเนินโครงการมีสถานที่ ที่เหมาะสมและสื่อ อุปกรณ์ที่เพียงพอ และความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมต่อการจัดกิจกรรมโครงการของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กิจกรรมยอดนักอ่าน 4) ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิตของผู้บริหารสถานศึกษา พนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนใช้เวลาว่างในกิจกรรมการอ่านมากยิ่งขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ทักษะการอ่านของนักเรียนมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ผลการประเมินโครงการของนักเรียน ด้านผลผลิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น และนักเรียนมีพฤติกรรมการอ่านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสถานที่ รองลงมาคือ ด้านวิธีการอ่าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านวิธีการได้มาของสื่อการอ่าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลานันท์ บุญกล้า. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองปลาซิวสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
จักรพันธ์ ต๊ะเรียน. การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2554.
ชลนันท์ พลายระหาญ. การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนในอำเภอเขาคิชฌกูฏสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.
บุญทิพย์ กลิ่นทุม. การประเมินโครงการรักการอ่านของโรงเรียนวัดหนองสองห้อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2553.
พิธพร นิโกบ. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเข้าใจในการอ่านที่มีแรงจูงใจในการอ่านและความสามารถทางภาษาเป็นตัวแปรส่งผ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.