กลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาลในงานวิชาการของโรงเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วัฒนา สายเชื้อ
วาโร เพ็งสวัสดิ์

บทคัดย่อ

งานวิชาการเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนควรพัฒนากลยุทธ์สำหรับใช้ใน งานวิชาการของโรงเรียน เพื่อให้งานวิชาการมีคุณภาพเท่าที่ควร สำหรับกลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาล ในงานวิชาการของโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม และตัวชี้วัดความสำเร็จ ในขณะที่หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมสำหรับใช้ในแต่ละงานในขอบข่ายงานวิชาการของโรงเรียน ควรพิจารณาจากความเหมาะสมและความสอดคล้องกัน ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร เหมาะในการใช้หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เหมาะในการใช้หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม และหลักการมี ส่วนร่วม 3) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา เหมาะในการใช้หลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ 4) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน เหมาะในการใช้หลักนิติธรรม และหลักความโปร่งใส 5) ด้านการนิเทศการศึกษา เหมาะในการใช้หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม ละหลัก ความรับผิดชอบ 6) ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ เหมาะในการใช้หลักหลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า และหลักความรับผิดชอบ และ 7) ด้านการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา เหมาะในการใช้หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ และหลักความโปร่งใส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ, 2549.
เกษม วัฒนชัย. ธรรมาภิบาลกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 2556.
จรุณี เก้าเอี้ยน, การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2557.
ชัชฎาภรณ์ อร่ามรุณ และคณะ. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,15(4), 37, 2556.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2553.
ภานุรัตน์ นันตา และธนิษฐา รัศมีเจริญ. ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2555.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา : โรงพิมพ์นำศิลป์, 2553.
สถาบันพระปกเกล้า, ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2544.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จข้อมูลพื้นฐานจากโครงการ PISA 2009. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์, 2554.