การพัฒนานวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตน

Main Article Content

นิรมิต ชาวระนอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตน2) ประเมินนวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนานวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตน โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินนวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนข้อมูลจากเอกสารใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถาม นำมาคำนวณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของนวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นตั้งแต่ 3.51 ใน 5 ระดับ ขึ้นไป ระยะที่ 2 การประเมินนวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาที่เรียนวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนที่ใช้นวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแมนน์-วิทนี (Mann-Whitney Test) เกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้นวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนสูงกว่าก่อนใช้นวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเกณฑ์การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนที่ใช้นวัตกรรม คือ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจตั้งแต่ 3.51 ในระดับ 5 ขึ้นไป


              ผลการวิจัย พบว่า


              1) นวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ 6 เนื้อหา ประกอบด้วย 6 เรื่อง ได้แก่ การศึกษาตนเอง การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขตามหลักพุทธศาสตร์ การดำรงชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาตนเอง กระบวนการพัฒนาตน และการทำชีวิตให้เป็นสุข


              2) หลังจากใช้นวัตกรรมศาสตร์ของพระราชาเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนแล้ว นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมศาสตร์ของพระราชา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และพัฒนาตนในทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา. (ออนไลน์) 2550 (อ้างอิงเมื่อ มกราคม 2552). จากhttp://www.akson.com/article/tips.?ld=88&title.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2546.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ:สกายบุคส์, 2549.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2551.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. การสร้างกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2548.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
บุญชม ศรีสะอาด. การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ. ในคู่มือการจัดการศึกษาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
สมาน อัศวภูมิ. การศึกษาและการสังเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษา การพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา และสถานศึกษาเครือข่ายของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ รุ่นที่ 1. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2549.
ฤกษ์ชัย พลศรี. การศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2553.