การประเมินโครงการพัฒนาครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model กรณีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

ชวนคิด มะเสนะ
จิณณวัตร ปะโคทัง
ธิดารัตน์ จันทะหิน
เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ
วิไลวรรณ พรมสีใหม่

บทคัดย่อ

           วิจัยการประเมินโครงการพัฒนาครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model กรณีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินการโครงการพัฒนาครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น กรณีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผลการประเมินโครงการพัฒนาครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model กรณีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการโครงการพบว่า (2.1) ด้านสภาวะแวดล้อม ปัญหา พบว่า ในการดำเนินการจัดกิจกรรมกระชั้นชิดเกินไปควรมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าหรือควรให้นักศึกษาได้เตรียมตัวก่อน และในการดำเนินการควรจัดโครงการในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ (2.2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ปัญหา พบว่า ในบางกลุ่มมีนักศึกษาสาขาเดียวกันมาก ควรจัดให้นักศึกษาคละสาขาเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหลายสาขามากขึ้น (2.3)  ด้านกระบวนการ ปัญหา พบว่า รูปแบบของกิจกรรมในแต่ละฐานมีความซ้ำซ้อนกันในบางเรื่องทำให้ไม่น่าสนใจ ควรมีการกำหนดกิจกรรมในแต่ละฐานให้ชัดเจน และกำหนดระยะเวลาให้มีความกระชับ (2.4)  ด้านผลผลิต ปัญหา พบว่า ระยะเวลาในการเข้าไปศึกษาเรียนรู้กับวิทยากรครูดีเด่นสั้นเกินไป ควรกำหนดระยะเวลาให้มากขึ้นและมีโอกาสในการร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสามัญศึกษา. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2552). วิกฤติ กระบวนทัศน์ มโนทัศน์ การปฏิรูปอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

เขตปฏิรูปการศึกษา, สำนักงาน. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

วิจารย์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. นครปฐม: ส เจริญ การพิมพ์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการประเมิน ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรชัย จิวเจริญสกุล. (2556). รายงานการวิจัยประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการ สร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โสภา แซ่ลี. (2558). การประเมินโครงการคืนครูให้นักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. กาญจนบุรี: ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.