รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยสนทนากลุ่มครูและนักเรียน จำนวน 20 คน และทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน จำนวน 93 คน 2) พัฒนารูปแบบและคู่มือแล้วนำไปสอบถามความความเป็นไปได้และการนำไปใช้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบจากทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนนักเรียน จำนวน 31 คน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบและคู่มือและสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t - test for dependent Samples) และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
- 1. นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายต่ำว่าเกณฑ์มาตรฐาน เฉลี่ยร้อยละ 76 ขาดรูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา และต้องการให้ มีแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ชัดเจน
- รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับชั้นมัธยมศึกษา มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิดพื้นฐาน 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย หลักการและแนวคิดพื้นฐาน 3) กระบวนการของรูปแบบ 3.1) ระบบสนับสนุน 3.2) ขั้นตอนการส่งเสริม ร่างรูปแบบฯและร่างคู่มือฯ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66, S.D. =.11) และ ( =4.56, S.D. =.12) ตามลำดับ
- ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่า ระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียนก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.79, S.D. =.32) ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D. =.21)
Article Details
References
กรมพลศึกษา. (2555). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพ สำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
__________. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา (อายุ 13 - 18 ปี). กรุงเทพฯ: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนปฏิบัติการการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561-2563) สอดคล้องตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561-2573). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยสำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รัตนาพร ทำใหม. (2560). สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13. 207-212.
โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์. (2561). รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาส อังศุโชติ, อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (Statistic For Research and SPSS Application Techniques). ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2.
Al-Rahamneh, H., Eston R.G., Dababseh, M. (2013). Fitness level of deaf students compared to hearing students in Jordan. Journal of Physical Education and Sport, 13(4), 528-532.
Barboza, C., Ramos, A., Abreu, P. and Castro, H. (2019) Physical Education: Adaptations and Benefits for Deaf Students. Creative Education, 10 (4), 714-725.
Crowe, T.K., Horak, F.B. (1988). Motor proficiency associated with vestibular deficits in children with hearing impairments. Physical Therapy, 68(10), 1493–1499.
Cushing, C.L, Gordon, K.A, Rutka, J.A, James, A.L, Papsin, B.C. (2013). Vestibular end-organ dysfunction in children with sensorinerual hearing loss and cochlear implants—An expanded cohort and etiologic assessment. Otol Neurotol, 34(3), 422-428.
Dair,J., Ellis, M.K., Lieberman, L.J. (2006). Prevalence of overweight among deaf children. American Annals of the Deaf, 151, 318–326.
Fernandes, R., Hariprasad, S, and Kumar, V.K. (2015). Physical therapy management for balance deficits in children with hearing impairments: A systematic review. Journal of Paediatrics and Child Health, 51(8), 753–758.
Hartman E., Houwen S., Visscher C. (2011). Motor skill performance and sport participation in deaf elementary school children. Adapted Physical Activity Quarterly, 28 (2), 132-145.
Lieberman L. J. (2011). Hard-of-hearing, deaf or deafblind. In Winnick J. P. (Ed.), Adapted physical education and sport (5th Ed.). Champaign, IL: Human Kinetics.
Li. C. , Haegele A.J., Wu. L. (2019). Comparing physical activity and sedentary behavior levels between deaf and hearing adolescents. Disabilities Health Journal. 12(3), 514-518. doi: 10.1016/j.dhjo.2018.12.002.
Maes, L., De Kegel A, Van, W.H., Dhooge, I. (2014). Association between vestibular function and motor performance in hearing-impaired children. Otology and neurotology, 35(10), 343-347.
Presidential Youth Fitness Program.(2014). Assessment: Free Assessment Materials Web site. Retrieved June 13, 2019, from http://www.pyfp.org/ assessment/free-materials.shtml.
Soori, Z., Heyrani, A. and Rafe, F. (2019). Exercise effects on motor skills in hearing-impaired children. Sport Sciences for Health. 15 (4), 635–639.
Wohlstetter, P. (1995). Getting School-based Management Right: What works and What Doesn’t. Phi Delta Kappan, 77(2), 22-25.