การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยใช้โครงการเป็นฐาน

Main Article Content

ศศิธร คล้ายชม
อารี เลาะเหม็ง
ณฐพงศ์ พ่วงภิญโญ
กมลธร แป้นกล่ำ
สุลาวัลย์ ทันใจชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาทางด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมให้มีคุณภาพและมีความพร้อมต่อการปฏิบัติวิชาชีพได้ จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน ที่ได้จากระบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและการจัดการเรียนการสอน โดยใช้โครงการเป็นฐานในการเรียนรู้ (Project -based Learning) เพื่อให้เหมาะสมกับการทำความเข้าใจและการบูรณาการองค์ความรู้รวมทั้งมีโอกาสในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อค้นหาประสิทธิภาพของการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานของการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ใช้โครงการเป็นฐาน ในรายวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม 3) เพื่อค้นหาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ทำการเรียนในรายวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยใช้โครงการเป็นฐาน ศึกษาความรู้ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม ในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มีการเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และการวิเคราะห์เนื้อหาในกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการเรียนการสอนที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน ช่วยให้นักศึกษามีศักยภาพในการเรียนรู้และสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง และสามารถแก้ปัญหาโครงการได้ในระดับดี นอกจากนี้ยังมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น เมื่อเทียบผลการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับระดับความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับดีโดยเฉพาะทางด้านเนื้องหาและองค์ความรู้ที่ได้รับตามวัตถุประสงค์


 


คำสำคัญ : การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน; การออกแบบสถาปัตยกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
สาโรช โศภีรักย์. (2546).นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. นครปฐม: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.
อนงค์วรรณ คุณดิลกชุติวัต. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บรายวิชา Word Processing สําหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Markham, T., Larmer, J., & Ravitz, J. (2003). Project based learning handbook: A guide to standards-focused project based learning . Novato, CA: Buck Institute for Education.
Barrows HS. (2000). Problem-Based Learning Applied to Medical Education. Southern Illinois University School of Medicine: Springfield.
Duch BJ, Groh SE, Allen DE. (2001). The Power of Problem-Based Learning. Stylus Publishing. LLC: Virginia.
Schwartz P, Mennin S, Webb G. Problem-Based Learning Case Studies Experience and Practice. (2001). Kogan Page Ltd,: London.
Tal, T., Krajcik, J., & Blumenfeld, P. (2006). Urban schools’ teachers enacting project-based science. Journal of Research in Science Teaching, 43(7), 722–745.