การพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียนมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบโรงเรียน แห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน พบว่า ครูมีปัญหาในการจัดการเรียนรู้ระดับมาก 2) รูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ส่วนที่ 2 ทฤษฎีระบบ (System Theory ) และ ส่วนที่ 3 คือ MERS Model รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาที่มุ่งสู่คุณภาพ 3) ผลการใช้รูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ที่มุ่งสู่คุณภาพของนักเรียน พบว่า คุณภาพนักเรียนหลังใช้รูปแบบสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และผลการประเมินความพึงพอใจของครูหลังใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2551).การวิจัยปฏิบัติการแบบมีสวนรวมเพื่อพัฒนาชุมชน. มหาสารคาม :
อภิชาตการพิมพ.
ทิศนา แขมมณี.(2552) ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด.(2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิรุณ เรืองไพศาล.(2558).การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคาทอลิกที่มีประสิทธิผล.ดุษฎีนิพนธ์
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พุฒิพัฒน ภิญโญกุลพัฒน์.(2558).รูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดขอนแกน.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนบ้านมะอึ.(2563).รายงานคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2562.ร้อยเอ็ด : โรงเรียนบ้านมะอึ.
สมบัติ ท้ายเรือคำ.(2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
เอกชัย บุตรแสนคม.(2559).การพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำ
ตำบล.ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกชัย หมอกไชย.(2558).รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผูเรียนใน
โรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32 บุรีรัมย.วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.