สภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ศูนย์สอบที่ 16 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

Main Article Content

ปัญญา ตรีเลิศพจน์กุล

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ศูนย์สอบที่ 16  2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ศูนย์สอบที่ 16 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน  3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติศูนย์สอบที่ 16 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในศูนย์สอบที่ 16 ที่เข้าร่วมแข่งขัน ประจำปี พ.ศ. 2563 จำนวน 93  คน  และครูผู้รับผิดชอบการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 93  คนรวมทั้งหมด 186 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random sampling) และผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิศาสตร์ จำนวน 2 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 2 คน รวม 5 คน จำนวน 3 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก  ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t - test) และการทดสอบค่า F (F - test) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ Scheffé  ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ศูนย์สอบที่ 16 โดยรวม อยู่ในระดับมาก

  2.  การเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ศูนย์สอบที่ 16 จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

  3. การเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ศูนย์สอบที่ 16 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4.  การเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ศูนย์สอบที่ 16 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

  5. แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติศูนย์สอบที่ 16 ด้านการบริหาร จัดการสถานศึกษา  สถานศึกษาจัดหางบประมาณ ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหาร หัวหน้าสายชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทำงานเป็นทีม  ด้านการจัดการเรียนการสอน  มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศที่เน้นหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ มีการพัฒนาครูอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง  มีการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนพิเศษกับครูหรือติวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถ  ด้านการนิเทศภายใน  มีการนิเทศภายใน ภาคเรียนละ 1-2 ครั้ง หลังเลิกเรียน มีการนิเทศภายใน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยผู้บริหารสถานศึกษา สถานศึกษามีการสร้างทีมนิเทศภายในที่เข้มแข็ง ด้านการส่งเสริมสนับสนุน  สถานศึกษามีงบประมาณสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญข้าว ชุ่มเกษรกูลกิจ. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุกิตติ์ สิทธิยานนท์. (2560). การพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามแนวคิดพลเมืองโลกศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2542). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทิยา ไชยมัชฌิม และคณะ. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดและประเมินผลการคิดวิเคราะห์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การวัดผลการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุศรินทร์ ใจวังโลก และคณะ.(2561). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.