แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยศึกษาอำเภอวิหารแดงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต2 -

Main Article Content

สุกัญญา โพธิ์ศรี
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยศึกษาอำเภอวิหารแดงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต2 2.เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากร ในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยศึกษาอำเภอวิหารแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรีเขต 2 โดยจำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน3. เพื่อนำผลการวิจัยครั้งนี้ นำไปเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนา ปรับปุรง และแก้ไข ในลำดับต่อไป โดยมีกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย คือ  ครูและบุคลากรในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยศึกษาอำเภอวิหารแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระบุรีเขต 2  จำนวน 148 คน โดยในการเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษางานวิจัยนี้ ได้ใช้ ตารางของเครซและมอร์แกน ( ธีระวัฒ เอกะกล,2543  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค(Cronbach’s Alpha Coefficeint) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากบั 0.946 สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบแรงจูงใจของครูและบุคลากรที่มีผลต่อการ จำแนกตามจำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์โดยใช้ค่า t-test แบบ Independent สำหรับประสบการณ์การปฏิบัติงาน วิเคราะห์โดยค่า One Way Analysis of Variance (ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 จึงทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheff 'e (Scheff 's Post hoc Comparison)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็น ผลการศึกษาได้ดังนี้ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา 46 คน คิดเป็นร้อยละ 30.77 ส่วนครูผู้สอนจำนวน102 คน คิดเป็นร้อยละ 69.23 จำแนกตามระดับการศึกษา  พบว่าครูและบุคลากรระดับปริญญาตรี คิดเป็นจำนวน 140 คน คิดเป็นร้อย ละ 94.60 สูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อย ละ 4.05  จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่าครูและบุคลากรที่มีช่วงเวลาในการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ 1-5 ปี จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 53.84  ช่วงเวลา 5 - 10 ปี  จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 ช่วงเวลา 10 ปี ขึ้นไปจำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 ตามลำดับ

  2. ผลการเปรียบเทียบครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ย จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่การงาน พบว่าในภาพรวมแล้ว มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลย 4.31 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 ตามลำดับ จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่าใน ภาพรวมแล้ว ครูและบุคลากรที่มีระดับการศึกษา ต่างกันมีระดับแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานพบว่าในภาพรวมแล้ว ครูและบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ต่างกันมีระดับแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, Ntapat Worapongpat

นนทบุรี

References

กนกทิพย์ สุขอนันต์, กนกกร ศิริสุข. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. วารสารทัศนมิติทางการศึกษา, 1(2), 62-76.

กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียน รู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วารสารนิสิตวัง, 25(1), 83-91.

เกียรติศักดิ์ พลเดช, วิรัตน์ ธรรมาภรณ์, ละมุล รอดขวัญ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้ บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2. วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย, 2(2), 33-48.

ชญานิศ ปวงกาวี, อดุลย วังศรีคูณ. (2566). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสถาบันการ อาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน มจร วิทยาเขตแพร, 8(2), 38-49.

ทิวาวรรณ ราโช, สมใจ ภูมิพันธุ์. (2566). การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 17(1), 208-220.

ธนวัฒน์ โพธิรัชต์. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 619-630.

ธนวัฒน์ โพธิรัชต์. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 619-630.

นริศ บุญญานุพงศ์, ชวนีย์ พงศาพิชณ์. (2566). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจภายในที่พยากรณ์ต่อ ประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราชเขต 4. In รายงานการประชุม Graduate School Conference (Vol. 5, No. 1, pp. 473-482).

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2565). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 133-146.

ปรเมษฐ นามไพร, เสาวนี สิริสุขศิลป์, ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์. (2566). โมเดลสมการโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาในวิถีปกติ ใหม่ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 16(1), 50-69.

พชรดนัย มุลาลี, วิชิต กำมันตะคุณ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาน ศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 17(1), 33-46.

พรชัย อินทร์ตาโคตร, พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรง จูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 423-437.

ภัทราลี แน่นอน, วัลลภา เฉลิมวงศาเวช. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 109-120.

มุกรินทร์ กันเขตวิทย์, วัฒนา จินดาวัฒน์. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษย์สังคมศาสตร์, 9(1), 186-198.

วรพร ปายะนันทน์, อุไรวรรณ บัวเจริญ. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรกลุ่มระดับประถมศึกษา อำเภอเมืองตากจังหวัดตาก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(6), 154-164.

ศศิชญา ทวีทรัพย์, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ, ธัญธรณ์ อมรกิจภิญโญ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาระดับ ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1. Journal of Modern Learning Development, 8(7), 156-171.

ศิขรินทร์ กล่ำชุ่ม, อาภรณีน์ อินฟ้าแสง, ดวงตา สราญรมย์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์กรของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(2), 137-146.

อรุณรัตน์ สีหบุตร และ คณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรง จูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตูมสวายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 20(1), 143-161.

อุลัยวรรณ เทนสุนา, กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2566). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสายงานการ สอนที่มีประสิทธิภาพ. In การประชุมวิชาและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 5; 3 เมษายน 2566; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.