การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนพิการ กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนพิการ กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานักเรียนพิการ กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากร ประกอบด้วย ผู้ปกครองของนักเรียนพิการที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับเตรียมความพร้อม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี จำนวน 306 คน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ปกครองของนักเรียนพิการที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับเตรียมความพร้อม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี จำนวน 13 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิธีดำเนินการวิจัย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัย พบว่า
1) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนพิการ กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน ด้านอาสาสมัคร ด้านการอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ปกครอง ด้านการร่วมมือกับชุมชน ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านการตัดสินใจ ตามลำดับ
2) ข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง โรงเรียนควรมีการสื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครองให้มากขึ้น การสื่อสารควรมีลักษณะเฉพาะเพื่อความรวดเร็ว สะดวก ควรมีการจัดประชุม ฝึกอบรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความรู้ความเข้าใจร่วมกัน โรงเรียนควรจะจัดกิจกรรมอบรมครู บุคลากรในโรงเรียนให้รับทราบและมีความเข้าใจในนโยบายของโรงเรียน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภา
ลาดพร้าว.
กนกวรรณ โรจจนพร. (2553). การมีส่วนร่วมและแนวทางการพัฒนาของผู้ปกครองในการจัด
การศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนวัดหนองค้อ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กัมภณฑ์ จุนโท. (2543). ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล: จุดเริ่มต้นที่ผู้ปกครอง. วารสารวิชาการ,
(10), 35-40.
กิตติ กรทอง. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินการจัดการศึกษาระดับก่อน
ประถมศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
กรองกาญจน์ เชิญชัยวชิรากุล. (2550). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย
ของโรงเรียนเอกชนในกลุ่มสมาคมสหศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
เกศรินทร์ ชุ่มจิตต์. (2551). บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนระดับปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เขมจิรา บุญต่าย. (2554). การศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เจนจิรา แซ่เฮง. (2555). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการจดการศึกษาปฐมวัยของ
โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
จรรยารักษ์ ดีวี. (2556). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดสุ
คันธศีลาราม (หอมศิลวิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.