การบริหารการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต กรณีศึกษา: นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (AP) โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

กิตติวัฒน์ ดิษฐประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริหารการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมและศึกษาสมรรถนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เพื่อการสร้างสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชา สอวน. ชีววิทยา 2 จำนวน 15 คน  โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน ใบกิจกรรม แบบสังเกต/สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) เฉลี่ยเท่ากับ 0.89, 0.82, 0.81 และ 0.85 ตามลำดับ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามลำดับ ผลวิจัยพบว่า ผลของการบริหารการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม โดยภาพรวม พบว่า ผลของการบริหารการจัดการเรียนรู้ ดังกล่าว มีระดับสมรรถนะของการบริหารการจัดการเรียนรู้มีระดับสูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้มีร้อยละ 29.43 และ 74.83 และเมื่อศึกษาสมรรถนะของนักเรียนของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้ พบว่า สมรรถนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์การพิจารณาสมรรถนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 5 เกณฑ์ โดยเกณฑ์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ระดับดีมาก มีค่า 4.00 คือ ด้านที่ 4 ด้านสมรรถนะในการใช้สื่อและเทคโนโลยี และผลการประเมินเฉลี่ยรวมทั้ง 5 ด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ย 3.67 อยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธิติมา อุปศรี. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยสารและสมบัติของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแดงใหญ่ (ราษฎร์คุรุวิทยาคาร). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

นิลุบล วรวิชญ์ธนเลิศ. (2555). การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity – Base Learning). (อ้างเมื่อ 12 สิงหาคม 2566). จาก https://dputhp.wordpress.com/2013/.

ปาริชาติ ศรีเหรา. (2551). ผลการใช้กลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการทำงานของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทรสร นรเหรียญ และ ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2563). การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์(มสป.). 22(1), 46-61.

ราตรี ยะคํา, สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ และ วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์. (2560). การวิจัยปฏิบัติกรเพื่อพัฒนาสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วย

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจําลองเป็นฐาน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์และผลิตภัณฑ์.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 190-203.

วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรูในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมทองถิ่น, 7(9), 374-386.

สาริญา และสุม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุทัศน์ เอกา. (2556). การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน. (ออนไลน์). (อ้างเมื่อ 2 สิงหาคม 2566). จาก http://www.krumontree.com/www/index.php/documents/74-abl-activity-basedlearning.

Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Chaidech, T., Chanunan, S., & Chaiyasit, W. C. (2016). Development of collaborative problem solving competency using research-based learning according to STEM education in fossil fuels and products. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 8(1), 51-66. (in Thai)

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Assessment of science. Bangkok: Se-Education.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). PISA 2015 results. Retrieved from https://drive.google.com/file/d0BwqFSkq5b7zScUJOOV9ldUNfTlk/view.

Kijkuakul, S. (2014). Learning science directions for teachers in the 21st century. Phetchabun: Juldiskarnpim. (in Thai)

Klinkla, R., Phibanchon, S., & Srisnyong, S. (2016). The effect of inquiry learning and open approach on stoichiometry chemistry to develop ability in analytical thinking for 11th grade students. Journal of Education Naresuan University, 18(1), 211-217. (in Thai)

Lee, S., & Kim, H. B. (2014). Exploring secondary students’ epistemological features depending on the evaluation levels of the group model on blood circulation. Sci & Educ, 23, 1075-1099. (in Thai)

OECD. (2013). Education at a Glance 2013: OECD Indicators. OECD Publishing, Paris.