การพัฒนารูปแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง ‘ban’ ‘gan’ และ ‘zuo’ ที่มีความหมาย “ทำ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อรุโณทัย บุญชม
สุภิญญา เรือนแก้ว
จินต์จุฑา จินดานิรดุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) โดยประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ด้านลักษณะของคำกริยา 办(bàn) มีลักษณะเป็นทางการ 干(ɡàn) และ做(zuò) มีลักษณะกึ่งทางการและไม่เป็นทางการ ด้านความหมายของคำกริยา 办(bàn) มีความหมายในลักษณะของการจัดการ การทำงาน การลงโทษ การก่อตั้งและการจัดซื้อ 干(ɡàn) มีความหมายในลักษณะของการสอบถาม การสงสัย ในบางบริบทจะมีลักษณะเชิงลบ หรือมีความหมายไปในทางที่ไม่ดี หรือความหมายแฝง做(zuò) มีความหมายในลักษณะของการทำงาน การเขียน การแต่ง การดำรงตำแหน่ง การทำหน้าที่เป็น ด้านการใช้คำกริยา 办(bàn) 干(ɡàn) และ 做(zuò) ส่วนมากไม่มีการใช้เครื่องมือในการกระทำ สิ่งที่ถูกกระทำเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตหรือเป็นนามธรรม แต่ 办(bàn) และ做(zuò) มีผลผลิตที่ได้จากการกระทำ ส่วน干(ɡàn) ไม่มีผลผลิตที่ได้จากการกระทำ   การวิจัยนี้ใช้รูปแบบ Pre Test – Post Test กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน โดยวิธีเจาะจงนักเรียนห้องเรียนแผนภาษาจีนโรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะจำนวน 3 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนจำนวน 20 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ ผลการวิจัยในนักเรียน 20 คน พบว่าได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 48.75 หลังเรียนเท่ากับ 93.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของของคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 2.22 หลังเรียนเท่ากับ 1.57 เมื่อทดสอบความแตกต่างแล้วหาค่าเฉลี่ยหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) ของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อีกทั้งนักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) อยู่ในระดับมาก (X bar=4.33 , S.D.=1.83)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2551). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธูปทอง ปราบพล. (2543). ทฤษฎีการสร้างแบบฝึกการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2548). พจนานุกรมจีน-ไทยฉบับใหม่ (ฉบับพิมพ์หนังสือตัวย่อ). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

ไพบูลย์ มูลดี. (2546). การพัฒนาแผนการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2548). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อกนิษฐ์ กรไกร. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กาพย์ยานี 11 ด้วยแบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่¬เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ Co-op Co-op และแบบเดี่¬ยว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรุโณทัย บุญชม. (2555). ความหมายและการใช้คำกริยา ‘bɑn’ ‘ɡɑn’ ‘ɡɑo’ ‘nonɡ’ และ ‘zuo’ ในภาษาจีนกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณกรรม ไทย-จีน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Kɑnɡ Yuhuɑ และ Lɑi Sipinɡ. (2560). สนทนาภาษาจีน 301 ประโยค เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เอบิซ อินเตอร์ กรุ๊ป.

国家汉办/孔子学院总部编制. (n.d.). 新汉语水平考试试卷. 中国: 北京.

含巧. (2019). 泰国学生学习汉语泛义动词“做”“弄”“干”“搞”的偏误分析. (硕士). 中国: 黑龙江大学.

胡波和杨雪梅. (2009). 对外汉语本科系列教材--汉语听力教程(第二册). 北京: 北京语言大学出版社.

王展采. (1995). 说 ‘搞’ 和 ‘干’. 中国:龙岩师专学报.

王淑红等编著. (2012). 发展汉语--初级口语1. 北京: 北京语言大学出版社.

杨奇洲. (2005). 对外汉语本科系列教材--汉语教程(第三册)(下). 北京: 北京语言大学出版社.

杨奇洲. (2008). 对外汉语本科系列教材--汉语教程(第一册)(上). 北京: 北京语言大学出版社.

周莲. (2013). 泛义动词“弄”、“干”、“做”的偏误分析与教学策略研究. 中 :华中师范大学.