การจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาฉบับต่างๆ นโยบายจากรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของคนพิการ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข การจัดการศึกษาสำหรับที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจึงเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันการศึกษาที่ต้องตระหนักถึงความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนซึ่งมีความแตกต่างไปจากนักศึกษาปกติทั่วไป เนื่องจากผู้เรียนมีความแตกต่างในสภาพร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการที่ต่างกัน บทความเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของ การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและตามความถนัดในแต่ละด้าน เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสถานศึกษาที่ต้องมีปรับการเรียนการสอนและ การวางแนวทางคุณภาพมาตรฐานในการจัดการศึกษา สื่อการเรียนการสอน องค์ประกอบการจัดสภาพแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ปัญหาและอุปสรรคจากความพิการที่มีผลต่อวิถีชีวิตของนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษร่วมทั้งปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสามารถนำไปปรับใช้ให้สอดครองกับบริบทของตนเองและตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาแห่งชาติ เป็นการส่งเสริมการเท่าเทียมสิทธิความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีอิสระมีศักดิ์ศรีสามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่เป็นภาระผู้อื่นและสามารถเป็นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
Article Details
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการ. (2556). คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการและคนทุกวัย. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567). จาก http://web1.dep.go.th/? q=th/services
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย.(2564). กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://healthserv.net/healthupdate/13140
กองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน. (2566). คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
กาญจนา สุทธิเนียม. (2558). การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
เกยูร วงศ์ก้อม. (2548). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: เพทายการพิมพ์.
จุฬาพัฒน์ ช่างเกตุ. (2560). กฎหมายสิทธิสำหรับคนพิการ. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ชนิศา อภิชาตบุตร.(2553). “นโนบายการจัดการศึกษาพิเศษและสิทธิหน้าที่ของคนพิการ” ใน ชุดการฝึกอบรมครูการศึกษาพิเศษในโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ดุสิตา ทินมาลา. (2553). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 80 ง. หน้า 1-13.
แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 4. (2555-2559). คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 4 เมษายน 2567). จากhttp://web1.dep.go.th/ sites/default/files/files/law/.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2556. (17 พฤษภาคม 2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนที่ 42 ก. หน้า 1-3.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พุทธศักราช 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 25 ตอนที่ 28 ก. หน้า 3.
เพ็ญแข ลิ้มศิลา. (2541). รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ออทิสซึม”. กรุงเทพฯ: ช.แสงงามการพิมพ์.
วัชรา ริ้วไพบูลย์ และคณะ. (2553). ประสบการณ์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข.
ศิริวัฒน์ สุขทวีสุข. (2557). การจัดการศึกษาเด็กพิเศษ: แนวทางการจัดการสถานศึกษาเพื่อผู้เรียนตามพื้นที่พิเศษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในมิติของคนพิการและผู้สูงอายุในไทย. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2557). จาก https://www.onde.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าวสดช./2019/TH-TH
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2552). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD). กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2553). คู่มือตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.