การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง สุภาษิตพระร่วง โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model กับการสอนแบบปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง ระหว่างรูปแบบการสอน CIPPA Model กับการสอนแบบปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วง ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอน CIPPA Model ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วง ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 ห้อง จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรูปแบบการเรียนการสอน CIPPA Model จำนวน 3 แผน และรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องสุภาษิตพระร่วง จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test for Independent และ t - test for dependent ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่ได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบการสอน CIPPA Model กับการสอนแบบปกติ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง ที่ใช้การสอนแบบ CIPPA Model กับแบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบ CIPPA Model ก่อนและหลังการทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ ก่อนและหลังการทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2545). การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูน: วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ ,10 (2), 1269.
จิรัชญา ทิขัตติ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่ไดรับการสอนแบบรวมมือ แบบเอสทีเอดี (STAD) และการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี [สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model). กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
ธฤษณัช อารมณ์แก้ว. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ ระหว่างการสอนตามรูปแบบซิปปากับการสอนแบบปกติ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
พระมหาคชา ประณีตพลกรัง. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องชนิดของคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดดาวคะนอง ระหว่างวิธีสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) กับวิธีสอนแบบปกติ. วารสาร“ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 99.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ไทยร่มเกล้า จำกัด.
สนิท ตั้งทวี. (2528). วรรณคดีและวรรณกรรมไทยเบื้องต้น พิมพ์ลักษณ์ กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อิงอร สุพันธุ์วณิช และคณะ. (2553). “มโนทัศน์พัฒนา : วรรณคดีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น”. ชุดฝึกอบรมภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.