การศึกษาและพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลปิงโค้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของครูศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลปิงโค้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลปิงโค้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครูผู้สอน 70 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะดิจิทัลของครู และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างด้านแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางดิจิทัลของครู ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะทางดิจิทัลของครู ด้านที่มีสมรรถนะสูงสุด ได้แก่ ด้านการเข้าใจดิจิทัล ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล ด้านการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล ด้านการใช้ดิจิทัล ตามลำดับ โดยมีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะทางดิจิทัลของครู ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรกำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูให้ชัดเจน รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันถึงทิศทางและเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2) ผู้บริหารควรกำหนดกลุ่มทักษะในการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านการเข้าใจดิจิทัล ด้านการใช้ดิจิทัล ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล และด้านการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล 3) ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู และ 4) ผู้บริหารควรมีกระบวนการในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
Article Details
References
กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เชียงใหม่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3.
เจริญ ราคาแก้ว. (2563). ความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
ณัฐดนัย แก้วจา และณัฐิยา ตันตรานนท์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสู่การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนในอำเภอแม่อาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 13(3), 125-140.
บัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์. (2566). รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัลวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม).
พิมพ์รำไพ ลายระยะพงษ์. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครู: การประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).
ภัทราพร เยาวรัตน์. (2565). การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร).
มณฑวรรณ ทองกลม. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการเรียนการสอนของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 19(2), 317.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม.
อนันต์ วรธิติพงศ. (2560). อนาคตภาพดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).