การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครูที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครูที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครูที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเจริญ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ โดยมีการวิจัย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 22 คน ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32 คน และนักเรียน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ และประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในระยะที่ 1 ส่วนค่าสถิติในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความสอดคล้อง (IOC) และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพการดำเนินงานปัจจุบัน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ สภาพที่คาดหวัง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และความต้องการจำเป็น เมื่อจัดลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวางแผน การจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2) ผลการสร้างรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) การดำเนินการ (5) การประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความถูกต้องและความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า (1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครู โดยรวมมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับ สูงมาก และพบว่า หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้น ป.6 ระหว่างปี 2565 กับปี 2566 เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 6 (2) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการประเมินความพึงพอใจของฝ่ายบริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จุฑามาศ เพิ่มพูนเจริญยศ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชรินทร ชะเอมเทส. (2561). การใช้รูปแบบการสอน Active Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีบริหาร สำหรับผู้เรียนระดับ ปวส. 2 สาขาการบัญชี. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ฯ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2563). รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการศึกษาชั้นเรียนและการชี้แนะโดยพี่เลี้ยงของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(2), 75-92.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทศพร ดิษฐ์ศิริ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะ ICT. http://www.enn.co.th/5942
ยุภาลัย มะลิซ้อน และ กาญจน์ เรืองมนตรี. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 231–243.
โรงเรียนบ้านนาเจริญ. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565. โรงเรียนบ้านนาเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 .
วิทยา พัฒนเมธาดา. (2560). การจัดการเรียนรู้ (Learning Management). https://www.kansuksa.com/8/
สกุลการ สังข์ทอง (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมี วิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (การสอนภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. (2534). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.