ถอดบทเรียน: การเขียนตำราและหนังสือเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการถอดบทเรียนจากองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์ที่จัดอบรมร่วมกับแนวคิดของผู้เขียนซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำเร็จให้กับผู้อ่านในการเขียนตำราและหนังสือ เนื่องจากผู้เขียนตำราและหนังสือทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ผู้สอนการเขียนตำราและหนังสือเปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของผู้เขียนว่ามีความเข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่เขียนหรือไม่ โดยตำราและหนังสือมีความแตกต่างแบบกว้าง ๆ 2 ประเด็น คือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประโยชน์และเนื้อหา ดังนั้นผู้เขียนต้องทำความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายคือใครเพื่อนำสู่การออกแบบเนื้อหาของตำราและหนังสือ การถอดบทเรียนครั้งนี้สิ่งที่นำเสนอ ได้แก่ 1) การทบทวนตัวเอง 2) การทำความรู้จักตำราและหนังสือ 3) ตกผลึกก่อนเขียนตำราและหนังสือ และ 4) การค้นหากัลยาณมิตร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความวิชาการนี้จะช่วยให้ผู้ที่จะเริ่มเขียนตำราและหนังสือมีแรงกาย แรงใจ ในการผลักดันตนเองเพื่อเขียนตำราและหนังสือที่มีคุณค่าทางวิชาการต่อไป
Article Details
References
ราชกิจจานุเบกษา .(2565). ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564
ชุติมา สัจจานันท์, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, สิริวรรณ ศรีหล และนนทิยา มณีศิลป์.(2567). เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตรการเขียนตำราระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ. นนทบุรี: สำนักการศึกษาต่อเนื่องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2554). หลักการและเทคนิคการเขียนตํารา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2):1-7.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การเขียนตำราและหนังสือเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2):1-9.
อำนาจ ทองแสน. (2563). การเขียนหนังสือ ตำราวิชาการ: เขียนอย่างไรให้ได้รับการตีพิมพ์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 4(2):1-6.