การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อรุณวรรณ เจียกงูเหลือม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ(1) พัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน ที่สอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัย ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัย กลุ่มตัวอย่างการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความมีระเบียบวินัย แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการเรียนรู้ “BDSRS  Model” ที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียน    การสอน รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 83.16/86.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียนที่สอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน พบว่า หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการคิดด้วยตนเองและเรียนรู้กับผู้อื่น ครูจัดเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมนักเรียนสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2556). การจัดการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงด้านพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

คณะอนุกรรมการ ก.น.ป. (2554). การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

จินตนา กสินันท์. (2559). การพัฒนากระบวนการเรียนด้วยโมเดลการสอน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ทิศนา แขมณี. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยทางการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555ก). การพัฒนาการสอนสังคมระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พยงค์ จิระพงษ์. (2558). การสร้างแรงบันดาลใจกับการสามารถในการถ่ายทอด. : เอกสารประกอบการบรรยาย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร.

พิสุทธิ์ แสงสัตยา. (2559). กระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนในอนาคต. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). การสอนที่เน้นการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2558). การพัฒนารูปแบบหรือโมเดลในการสอน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุ่ง แก้วแดง. (2559). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ. (2565). สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2565. งานวัดและประเมินผล โรงเรียนวารินวิชาชาติ กองการศึกษา เทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2559). เทคนิคเทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาการคดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.