การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
  • หากเป็นงานวิจัยดีเด่นที่เคยตีพิมพ์มาก่อนแล้ว ต้องมีการนำมาวิเคราะห์ด้วยมุมมองใหม่ นำเสนอข้อมูลใหม่โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน
  • การเพิ่ม-ถอน จำนวนของผู้แต่งร่วม (ถ้ามี) จะไม่สามาถดำเนินการได้ หลังจากส่งบทความเข้าในระบบของวารสารเป็นที่เรียบร้อย
  • กรณีที่บทความของท่านเข้าสู่กระบวนการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำการพิจารณาแล้วหากภายหลัง ผู้เขียน/ผู้ส่งบทความขอแจ้งยกเลิกการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ ผู้เขียน/ผู้ส่งบทความจะต้องทำการชำระค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดที่พิจารณาบทความดังกล่าว
  • บทความมีองค์ประกอบ ดังนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งทุกคน บทคัดย่อ คำสำคัญ (keywords) ความยาวประมาณไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ A4 ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) คุณวุฒิสูงสุด และสถานที่ทำงานของผู้แต่งทุกคน
  • บทความใช้ขนาดกระดาษ A4 แบบหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 12 หน้า ใช้อักษรTH Sarabun New ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความเรียบร้อยแล้ว
  • ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน และ/หรือ การอ่านเพื่อปรับแก้ไขจากบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการรับเชิญ ตามกำหนดเวลาของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะคัดเลือกตามสาขาวิชาหรือประเด็นเนื้อหาที่อยู่ในบทความนั้นๆ และหากเป็นบทความจากผู้เขียนภายในมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงาน จำนวน 2 คนและไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน โดยชื่อของผู้เขียนและผู้ประเมินจะเป็นไปในลักษณะปกปิด หรือ double blinded

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

รูปแบบเอกสารอ้างอิงวารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

          เอกสารที่นำมาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือสามารถสืบค้นได้ เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้อง จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์

 

การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม - ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. การอ้างอิงต้นเนื้อความ ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยระบุชื่อ-นามสกุล ตามด้วย วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุปีที่ตีพิมพ์ เช่น ...สอดคล้องกับงานวิจัยของโรจน์อนันต์ ธนรุ่งเรืองศรี (2564) เป็นต้น
  2. การอ้างอิงท้ายเนื้อความ ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้ วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์ กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง ดังนี้

อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

  1. ผู้แต่งหนึ่งราย ให้อ้างชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง, 2560)
  2. ผู้แต่งสองราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้งสองรายโดยใช้คำว่า “และ” ในการเชื่อมผู้เขียนทั้งสองแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (โรจน์อนันต์ วิทยารุ่งเรืองศรี และเกียรติศักดิ์ สุขเหลือง, 2564)
  3. ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งรายแรกแล้วเพิ่มคําว่า “และคณะ” แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ธิติวุฒิ มั่นคง และคณะ, 2564)
  4. กรณีที่เนื้อความเป็นเรื่องเดียวกันหรือผลการวิจัยเหมือนกัน แต่มีผู้อ้างอิงหลายคนให้ใช้รายการอ้างอิงที่ใกล้เคียงปีปัจจุบันมากที่สุด

อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

  1. ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Keown, 2010)
  2. ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสองราย โดยใช้เครื่องหมายแอนด์ (&) คั่นกลางระหว่างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสอง แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Hersey & Blanchard, 2010)
  3. ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al. ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ (Kaiser et al., 2010)

**เอกสารอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาบทความ จะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ

เอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม

  • หนังสือ

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ//(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

โรจน์อนันต์ ธนรุ่งเรืองศรี. (2564). หลักการบริหารองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์

James, C. (2013). Office markets & public policy. Chichester, West Sussex: Wiley.

  • บทความในหนังสือ

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน ชื่อบรรณาธิการ(บรรณาธิการ).//ชื่อเรื่อง.//(เลขหน้าที่อ้าง).//สถานที่พิมพ์:/
     สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

พฤกษา สหวิทยา. (2559). การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย. ใน ปวิตร ว่องวีระ, ทฤษฎีและวิธีวิทยาของ
     การวิจัยวัฒนธรรม.
(น. 112). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

  • บทความในวารสาร

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่(ฉบับที่),//เลขหน้าแรกที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.

เพชรา บุตรสีทา.  (2564).  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าปักชาวเขาเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดสำหรับกลุ่ม
     ผ้าปักชาวเขา บ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร.  วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและ
     สังคมศาสตร์
,  11(2),  55-64.

  • บทความในสารานุกรม

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อสารานุกรม//(เล่มที่อ้าง, หน้า เลขหน้าที่อ้าง).

วุฒิชัย มูลศิลป์. (2549). กฎหมายตราสามดวง. ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย  (เล่ม 1, อักษร ก, น. 12-16).

  • สารนิพนธ์, วิทยานิพนธ์, ดุษฎีนิพนธ์

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์//(ระดับวิทยานิพนธ์).//สถานที่พิมพ์://สำนักพิมพ์.

สุวภัทร ยินดี. (2562). การสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์และ
     ความจงรักภักดี ของผู้ใช้บริการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
     อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

  • รายงานการวิจัย

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง//(รายงานผลการวิจัย).//สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

กิริยา กุลกลการ. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อการส่งเสริมการมีงานทำ (รายงานผลการวิจัย).  กรุงเทพฯ:
     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

  • สัมภาษณ์

ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์.//(ปีที่สัมภาษณ์, วัน เดือน).//ตำแหน่ง//[บทสัมภาษณ์].

วิทยากร อ้วนสะอาด. (2564, 5 กุมภาพันธ์). ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
     [บทสัมภาษณ์].

  • สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง.//(ปีที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่อง.//สืบค้น วัน เดือน ปี,//จาก/แหล่งที่มาของข้อมูล.

บ้านจอมยุทธ.  (2563).  ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน.  สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จาก
     https://www.baanjomyut.com/

Buddhism Meditation Triratna Find us Community.  (2020).  Who Was The Buddha?. Retrieved     
      March 20, 2020, from https://thebuddhist centre.com

  • ราชกิจจานุเบกษา

ชื่อเรื่อง.//(พ.ศ.,วันที่ เดือนที่ประกาศ).//ราชกิจจานุเบกษา.//เล่ม ตอน.//หน้า.

ข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ใช้เจ้า
     พนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่.  (2537, 13 กรกฎาคม).  ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 111 ตอนพิเศษ 30 ง.
     หน้า 31.

  • หนังสือพิมพ์

ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์, วัน เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์.//น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า.

ไทยรัฐ. (2548, 19 เมษายน). เชียร์พระสอนศีลธรรม. ไทยรัฐ. น. 3.

บทความวิจัย

วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูง ในด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป, การสื่อสาร, การศึกษา, การพัฒนา และ สุขภาพ (สังคมศาสตร์) , โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน

บทความวิชาการ

วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูง ในด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป, การสื่อสาร, การศึกษา, การพัฒนา และ สุขภาพ (สังคมศาสตร์) , โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมล์ผู้แต่งที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้ จะใช้เฉพาะวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ในสารสารเท่านั้น และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น

-PDPA-