การพัฒนา การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ภัทราปวีณ์ - ศรีสมพันธ์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทักษะในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้  สร้างแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21  สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  ประชากรที่ใช้คือ  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาทุกสังกัดทั้งรัฐบาลและเอกชนในประเทศไทย  ปีการศึกษา  2560 จำนวน 704,697 คน  กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จำนวน 2,190 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เชิงสถานการณ์ จำนวน 30 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบวัดทั้งแบบเลือกตอบเชิงซ้อนและแบบเขียนตอบ  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและเกณฑ์ปกติ
          ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่  21  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษามีจำนวน    2   องค์ประกอบ   ได้แก่   พื้นฐานกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดขั้นสูง   โดยองค์ประกอบพื้นฐานกระบวนการเรียนรู้ มีจำนวน  8  ตัวบ่งชี้  ได้แก่  การสังเกต  การวัด การใช้ตัวเลขการจำแนกประเภท  การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา  การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล  การพยากรณ์  การลงความเห็นจากข้อมูล  สำหรับองค์ประกอบกระบวนการคิดขั้นสูง มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้  ได้แก่  การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ  การควบคุมตัวแปร  การทดลอง  และการตีความและลงข้อสรุป มีจำนวนแบบวัดทั้งหมด  30  ข้อ  ทั้ง  2  องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐาน   (gif.latex?\beta)  ระหว่าง 0.451 ถึง 0.871 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  ค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2)  มีค่าระหว่าง  0.203  ถึง 0.759   โดยมีค่าดัชนีวัดความกลมกลืน ดังนี้ X2 = 78.160, df = 61, p – value = 0.0685,  X2/df = 1.281,  RMSEA = 0.041,  CFI = 0.988  และ SRMR = 0.031    สรุปได้ว่า องค์ประกอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่  21  สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
          คุณภาพของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21  สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่สร้างขึ้น  พบว่า  แบบวัดจำนวน  30  มีค่า P อยู่ระหว่าง  0.300 - 0.830 ค่า  r อยู่ระหว่าง  0.200 - 0.890  และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.938
          เกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21   สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  ใช้เกณฑ์ปกติสเตไนน์  พบว่า การแปลความหมายของเกณฑ์ปกติคะแนนมาตรฐาน (standardized  score  norms)  ของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งฉบับ  แบ่งเป็น  9  ระดับความสามารถ  โดยนำมาจากคะแนนมาตรฐาน 9 (Stanine System) ดังนี้ ถ้านักเรียนทำคะแนนได้ในระดับคะแนนมาตรฐานมากกว่า  125  แสดงว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดีเยี่ยม  ระดับคะแนนมาตรฐาน 119 – 125 แสดงว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดีมาก  คิดเป็นร้อยละ  26.94  ระดับคะแนนมาตรฐาน 112 – 118 แสดงว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดี  คิดเป็นร้อยละ  20.09  ระดับคะแนนมาตรฐาน 104 – 111 แสดงว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ  18.81  ระดับคะแนนมาตรฐาน 97 – 103 แสดงว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ  12.60  ระดับคะแนนมาตรฐาน 90 – 96 แสดงว่านักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ  7.76  ระดับคะแนนมาตรฐาน 83 – 89 แสดงว่านักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่ำ  คิดเป็นร้อยละ  7.85  ระดับคะแนนมาตรฐาน 77 – 82 แสดงว่านักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่ำมาก  คิดเป็นร้อยละ 5.94  ระดับคะแนนมาตรฐานน้อยกว่า 77 แสดงว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่ำมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญวิทย์ จรัสสุทธิอิศร. (2545). การพัฒนากฏเกณฑ์การให้คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพยวรรณ์ ไกรนรา. (2550). ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุปผา จุลพันธ์. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2536). เกณฑ์ปกติและการเทียบคะแนน. อุตรดิตถ์ : สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์.

แรมสมร อยู่สถาพร. (2551). เทคนิคและวิธีสอนในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2544). การสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สุกัญญา ทองนาค. (2555). การพัฒนาแบบทดสอบสมรรถนะนักศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูแบบพหุมิติที่มีการตรวจให้คะแนนแบบพหุภาค. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดารัตน์ วิไลวรรณ. (2551). การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 ที่มีการคิดต่างกัน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มเจ้าพระยา สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญ ภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทาง สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคง.

อัญชลี เหล่ารอด. (2554). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยใช้คำถามควบคู่กับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Abruscato, J. (2000). Teaching Children Science. Messachusetts: Allyn & Bacon.

Kiopfer, Leopard E. (1974). Evaluation of Learning in Science. In Handbook on Formative Evaluation of Student Learning.

เผยแพร่แล้ว

2019-06-17