ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมองค์การของผู้บริหารกับการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

ผู้แต่ง

  • พรศิริ สังข์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ค่านิยมองค์การ การบริหารงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่านิยมองค์การของผู้บริหาร 2) ศึกษาการบริหารงานของสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมองค์การของผู้บริหารกับการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน  47 โรงเรียนรวม 113 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 

          ผลการวิจัยพบว่า  1) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับกับค่านิยมองค์การโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านงาน รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ ด้านสถานภาพ และน้อยที่สุดคือ ด้านการเปลี่ยนแปลง2) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการบริหารงานบุคคล รองลงมาคือด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานวิชาการและน้อยที่สุดคือด้านการบริหารงานทั่วไป และ 3) ค่านิยมองค์การของผู้บริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ในระดับปานกลาง ( = 0.6987) เมื่อพิจารณาเรียงลำดับตามระดับความสัมพันธ์ พบว่า ค่านิยมองค์การของผู้บริหารด้านสถานภาพ  มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารงานของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง สำหรับด้านการเปลี่ยนแปลง  ด้านความสัมพันธ์ และด้านงานมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานของสถานศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและรับส่งพัสดุภัณฑ์.

กาญจนา เกสร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,2(1). 28-29.

การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค. (2560). สืบค้น 10 ตุลาคม 2560,จาก http://www.moe.go.th/websm/2016/mar/134.html

ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. (2546). วิสัยทัศน์พันธกิจและค่านิยมสำหรับการสร้างองค์การยุคใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ปริญดา เนตรหาญ,อารี ชีวเกษมสุข,และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). ค่านิยมในงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพสองรุ่นอายุในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก,15(2), 323-329.

ปรียา อนุโต, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ และรอยพิมพ์ใจ เพชรกุล.(2557). การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(53), 107-113.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ :พิมพ์ดี.

ผลการทดสอบคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (2559). สืบค้น 10 กันยายน 2559, จากhttp://www.secondary3.go.th

ศุทธกานต์ มิตรกูล. (2557). ความสัมพันธ์ 3 มิติของค่านิยมของพนักงานค่านิยมขององค์กรและความผูกพันต่อองค์กร.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาพ.ศ. 2550.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2540). การประกันคุณภาพระดับภาควิชา กรณีศึกษาภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การประกันคุณภาพ การศึกษาระดับอุดมศึกษา: จากนโยบายสู่แนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา.

Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4thed. New York: Houghton Mifflin.

McDonald, P., & Gandz, J. (1993). Getting value from shared values. OrganizationalDynamics, 20(3), 64-77.

Schwartz, S. H. (2012). An overview of the Schwartz theory of basic values. Online Readings in Psychology and Culture, 2(1), 11.

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26