A Study of the Errors in Thai Essay Writing of Yuxi Normal University Students Studying at Chiang Rai Rajabhat University

ผู้แต่ง

  • Rao Rui คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทย, แบบฝึกทักษะการใช้คำ, นักศึกษาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัย YUXI ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัย YUXI ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการใช้ภาษาเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัย YUXI ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาจีนที่ศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีการศึกษา 2560 กลุ่มประชากรได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัย YUXI  จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทย ด้านการสะกดคำ ด้านการใช้คำ ด้านการผูกประโยค ด้านการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ด้านการใช้ภาษา และด้านรูปแบบการเขียนเรียงความ โดยตรวจจากข้อมูลการเขียนเรียงความภาษาไทย สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง (IOC), การหาความถี่และค่าสถิติร้อยละ (Percentage)

               ผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัย YUXI ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 1. ด้านการสะกดคำ พบมากที่สุดคือการเขียนตกหรือการเพิ่มคำ จำนวน 58 คำ คิดเป็นร้อยละ 38.41 2. ด้านการใช้คำ พบมากที่สุดคือการใช้คำผิดความหมาย  จำนวน 33 คำ คิดเป็นร้อยละ 47.83 3. ด้านการผูกประโยค พบมากที่สุดคือการผูกประโยคโดยขาดคำที่จำเป็นและการลำดับคำในประโยคไม่ถูกต้อง จำนวน 33 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 24.81 4. ด้านการใช้เครื่องหมายวรรคตอน พบมากที่สุดคือการไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอน จำนวน 5 คำ คิดเป็นร้อยละ 71.43 5. ด้านการใช้ภาษา (ประโยค) พบมากที่สุด คือ การใช้ภาษาพูด จำนวน 47 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 51.09 6. ด้านรูปแบบการเขียนเรียงความ พบมากที่สุดคือรูปแบบไม่สมบูรณ์ (ไม่ครบ 3 ส่วน) จำนวน 61 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.33 และผลการหาค่าความเหมาะสมสอดคล้องของแบบฝึกหัดการใช้ภาษาจากข้อบกพร่องการเขียนเรียงความของนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัย YUXI ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีการศึกษา 2560 มีค่าเท่ากับ 0.77 ผลการประเมินคุณภาพมีค่าเท่ากับ 4.02 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ฝึกทักษะการเขียนให้กับนักศึกษาจีนได้

References

กนกพร รัตนศิลป์ชัย. (2546). การวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการเขียนเรียงความของนักเรียนชาวเขาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
กระทรวงศึกษาธิการกรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (ม.ป.ป). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติ กรณีศึกษานักศึกษาจีน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปุลภรณ์ อาจต้น. (2547). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและสาเหตุการเขียนภาษาไทยผิดพลาด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
ฟาน จองบินห์. 2552. การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาเวียดนาม. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพมหานคร.
รุ่งโรจน์ เดชศิริเจริญชัย. (2554). ปัญหาการเขียนเรียงความของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนต่างประเทศ.(การค้นคว้าอิสระปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
ศรีจันทร์ วิชาตรง. (2542). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนคร ปีการศึกษา 2540. รายงานการวิจัย. สถาบันราชภัฏพระนคร.
สิระ สมนาม. (2550). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนของนักศึกษาที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง :กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 1 ปี จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี สิบสองปันนา ณ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. กรุงเทพฯ.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคํา และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : อี เค บุคส์

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29