พฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้มาเยือนต่อการดำเนินธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยวรอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • ืngamnid saennampol 0937694371

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความคิดเห็น, การดำเนินธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยว, รอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อน, กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มาเยือนต่อการดำเนินธุรกิจเชื่อมโยงรอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร แบบสอบถามผู้มาเยือนจำนวน 400 คน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเพศหญิง อายุ 20-39 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวแบบไปกลับกับเพื่อน โดยรถยนต์ส่วนตัว มีจุดประสงค์เพื่อพักผ่อน ได้ข้อมูลจากเฟสบุค และส่วนใหญ่จะใช้จ่ายไม่เกิน 499 บาทต่อคนต่อวัน เลือกใช้บริการแช่เท้า      รีสอร์ทขนาดเล็กและร้านค้าทั่วไป ส่วนใหญ่กลับมาใช้บริการและบอกต่อธุรกิจเชื่อมโยงแก่ผู้อื่น

ผู้มาเยือนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการมากกว่า 2 ธุรกิจ โดยผู้มาเยือนตัดสินใจเลือกบริการสปา จำนวน 333 คน มีความคิดเห็นว่าธุรกิจสปามีศักยภาพการดำเนินธุรกิจระดับสูง คะแนน 3.73  และผู้มาเยือนเลือกใช้บริการจากธุรกิจอื่น เช่น ร้านค้าขาย ขายไข่ ขายของที่ระลึก จำนวน 317 คน มีความคิดเห็นว่าธุรกิจอื่นมีศักยภาพการดำเนินธุรกิจในระดับสูง คะแนน 3.84 ผู้มาเยือนเลือกใช้บริการอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 314 คน ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มมีศักยภาพการดำเนินธุรกิจในระดับสูง คะแนน 3.86  และผู้มาเยือนเลือกใช้บริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 293 คน มีความคิดเห็นว่าธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีศักยภาพการดำเนินธุรกิจในระดับสูง คะแนน 3.80 และผู้มาเยือนเลือกใช้บริการที่พักแรมจำนวน จำนวน 262 คน มีความคิดเห็นว่าธุรกิจที่พักมีศักยภาพการดำเนินธุรกิจในระดับสูง คะแนน 3.89 ผู้มาเยือนธุรกิจเชื่อมโยง 400 คน มีความคิดเห็นว่าศักยภาพการดำเนินธุรกิจเชื่อมโยงโดยรวมอยู่ในระดับสูง 3.82 คะแนน

ความคิดเห็นของผู้มาเยือนต่อการดำเนินธุรกิจเชื่อมโยงประเภทธุรกิจสปามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกลับมาใช้บริการซ้ำ โดยมีนัยความสำคัญทางสถิติ 0.001 ความคิดเห็นต่อการดำเนินธุรกิจธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มมีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการโดยมีนัยความสำคัญทางสถิติ 0.000 ความคิดเห็นต่อการดำเนินธุรกิจอื่นมีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการ โดยมีนัยความสำคัญทางสถิติ 0.003 แต่ความคิดเห็นของผู้มาเยือนต่อการดำเนินธุรกิจเชื่อมโยงทุกประเภทธุรกิจไม่มีความสัมพันธ์กับการบอกต่อธุรกิจเชื่อมโยงรอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน

Author Biography

ืngamnid saennampol, 0937694371

การศึกษา               

     2557 : ระดับปริญญาโท:      บริหารธุรกิจมหาบัญฑิต (บธ.ม.) การจัดการการบริการและการท่องเที่ยว (นานาชาติ)

                มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

     2549 : ระดับปริญญาตรี:  ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ภาษาฝรั่งเศส (วิชาโท:ภาษาอังกฤษ ) (เกียรตินิยมอันดับ 1)

                 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  1. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ:
  2. ประกาศนียบัตรมัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ), สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว, ใบอนุญาต เลขที่ 31-05389
  3. ประกาศนียบัตร Certificate of Appreciation ( Pre-opening Team), The Senses Resort, Phuket
  4. ประกาศนียบัตร “ E-Marketing, Social Media Marketing & Search Engine Optimization Training” , Prince of Songkla University, Phuket
  5. ประกาศนียบัตรการอบรมภาษาจีนระดับกลาง, วิทยาลัยสารพัดช่าง ภูเก็ต
  6. ประกาศนียบัตร “โครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้าน ITC เพื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ,”มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  7. ประกาศนียบัตรผู้ดำเนินการสปา (Spa manager), กระทรวงสาธารณสุข
  8. ประกาศนียบัตรการอบรมนวดแผนไทย
  9. ประกาศนียบัตร First Aid Training, โรงพยาบาลสิริโรจน์ ภูเก็ต
  10. ประกาศนียบัตร Certificate of Appreciation และ Nomination of Employee of the Month, Four Season Resort, Chiang Mai
  11. ประกาศนียบัตรการอบรมจากฝ่ายบุคคลโรงแรมอนันตรา รสานันดาเกาะพะงัน วิลล่า รีสอร์ท, สุราษฎร์ธานี
  12. ประกาศนียบัตรการอบรมผู้ประกอบการอาหารฮาลาลเพื่อการท่องเที่ยวประจำปี 2557, องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต

 

  1. ประสบการณ์การทำงาน

               ปัจจุบัน: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

                2558-2560: อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารงานโรงแรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย                                                               

                2558: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

                2555-2558: เลขาผู้จัดการทั่วไปและการสื่อสารการตลาด โรงแรม The Senses Resort Phuket             

                2550-2554: พนักงานต้อนรับและผู้ฝึกอบรมพนักงาน โรงแรม Four Season Resort Chiang Mai

                                                                    

 

  1. ผลงานด้านวิชาการ

2560 : พรรณิภา ซาวคำและคณะ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย Development Local Product to  Marketing for Hotel Business in Chiang Rai Province.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 

 

2017 : Saennampol, N. "The Green Hotel Practice and Social media: A case study of perception and behavior of green hotels in Chiang Rai and Phuket, Thailand” at The 10th International Conference of HUSOC network on Dynamics of Humanities and social science in cross-border societies on February 2-3, 2017 (proceeding) 

 

2560 : งามนิจ แสนนำพล. รูปแบบธุรกิจชุมชนสำหรับการจัดการแหล่งน้ำพุร้อนที่เหมาะสมของจังหวัดเชียงราย. ASEAN 50 plus: Uniqueness in Diversity ณ สำนักงานใหญ่บริษัทการบินไทย กรุงเทพฯ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2560 (proceeding)

 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4(พ.ศ.2560-2564). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9689
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562).สถิติด้านการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/old/more_news.php?cid=531&filename=index
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2545).การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติธัช เตชะวีรากร. ธุรกิจเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพใน จังหวัดเชียงใหม่.
กฤติกา คุณูปการ, เพชรอำไพ ตาระกา, ธรรมนูญ วิศิษฏ์ศักดิ์, และภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล. (2018). การส่งมอบ คุณค่าและการออกแบบประสบการณ์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ.
ฉันท์ชนก ไชยสมบูรณ์. (2552). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษาบ่อน้ำร้อนสวนสาธารณรักษาวาริน อำเภอเมืองจังหวัดระนอง.
ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร. (2013). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำ. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 1(1-2).
ธันย์ ชัยทรและ เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2017). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าร้านจำหน่ายสินค้า เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 23-45.
วนารัตน์ กรอิสรานุกูล. (2553). แนวทางการพัฒนาน้ำพุร้อนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับสากลด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาน้ำพุร้อนพระร่วงจังหวัดกำแพงเพชร. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Falin, F. (2011). Based on Empirical Research About IPA Assessment Tourist Perception——A Case Study of Nanjing Tangshan Hot Springs [J]. Journal of Nanjing Normal University (Natural Science Edition), 4.
GfK Market Wise Ltd. (2556). โครงการศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่งงานและฮันนีมูนและกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.
Global Sustainable Tourism Council.(2019). GSTC Criteria overview. Retrieved from https://www.gstcouncil.org/gstc-criteria/
Lee, T. H. (2010). Assessing visitors' experiences at hot spring recreation areas in Taiwan. International journal of tourism research, 12(2), 193-203.
Law, R., & Yip, R. (2010). A study of satisfaction level of Hong Kong tourists with hot springs hotels and resorts in Guangdong, China. Hospitality Review, 28(1), 4.
UNWTO. (2015). UNWTO annual report 2015. Retrieved from https://cf.cdn.unwto.org/sites/all/files/pdf/annual_report_2015_lr.pdf
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis.
Zakaria, I., Rahman, B. A., Othman, A. K., Yunus, N. A. M., Dzulkipli, M. R., & Osman, M. A. F. (2014). The relationship between loyalty program, customer satisfaction and customer loyalty in retail industry: A case study. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 129, 23-30.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29