การวิเคราะห์การใช้ภาษาไทยในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวัน : ไทยรัฐ คมชัดลึก และแนวหน้า

ผู้แต่ง

  • He Saicong คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การใช้ภาษาไทย, การพาดหัวข่าว, รูปประโยค, การใช้คำ, แบบฝึก

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์การใช้ภาษาไทยในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวัน : ไทยรัฐ คมชัดลึก และแนวหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปประโยคและการใช้คำในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย และเพื่อสร้างแบบฝึกที่มีประสิทธิภาพสำหรับฝึกการใช้ภาษาไทยในหนังสือพิมพ์ของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ภาษาในพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คมชัดลึก และแนวหน้า ตีพิมพ์ระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2559   รวมจำนวน 276 ฉบับ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โปรแกรมภาษา และวัฒนธรรมไทย จำนวน 13 คน ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ตารางวิเคราะห์รูปประโยคจากการใช้คำขึ้นต้นในการพาดหัวข่าวและตารางวิเคราะห์การใช้คำในการพาดหัวข่าว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า

  1. รูปประโยคจากการใช้คำขึ้นต้นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่พบมากที่สุด คือ รูปประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำนาม มีจำนวน 131 ฉบับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.4746 คิดเป็นร้อยละ 47.46 รองลงมา คือ รูปประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา มีจำนวน 129 ฉบับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.4674 คิดเป็นร้อยละ 46.74  รูปประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำขยาย มีจำนวน 8 ฉบับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.0290 คิดเป็นร้อยละ  2.90  รูปประโยคที่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข มีจำนวน 7 ฉบับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.0254 คิดเป็นร้อยละ  2.54 และรูปประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน มีจำนวน 1 ฉบับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.0036 คิดเป็นร้อยละ 0.36
  2. การใช้คำในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย พบว่า มี 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) การใช้คำเรียกชื่อบุคคล ใช้คำเรียกชื่อจริงมีจำนวน 29 ฉบับ ใช้คำเรียกชื่อเล่นมีจำนวน 47 ฉบับ ใช้คำเรียกชื่อตำแหน่งมีจำนวน 48 ฉบับ ใช้คำเรียกชื่ออาชีพมีจำนวน 63 ฉบับ และใช้คำเรียกชื่อหน่วยงานมีจำนวน 48 ฉบับ 2) การใช้คำสมญานามมีจำนวน 2 ฉบับ 3) การใช้อักษรย่อมีจำนวน 121 ฉบับ 4) การใช้คำย่อมีจำนวน 34 ฉบับ และ5) การใช้คำภาษาต่างประเทศเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่  ภาษาบาลี อังกฤษ สันสกฤต เขมร บาลีและสันสกฤต มอญ จีน โปรตุเกสและญี่ปุ่น
  3. การหาประสิทธิภาพแบบฝึกเรื่องการใช้ภาษาไทยในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์

รายวัน พบว่า เล่มที่ 1 รูปประโยคมีประสิทธิภาพ 81.17/80.00 เล่มที่ 2 การใช้คำมีประสิทธิภาพ 81.00 / 84.00 และ เล่มที่ 3 การใช้ภาษาต่างประเทศมีประสิทธิภาพ 80.17/83.00

References

กอบกาญจน์ วิเศษรัมย์. (2558). การใช้ภาษาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์บันเทิง.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ธีร์วรา ขะบูรณ์. (2557).วิเคราะห์การใช้ภาษาในการพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิเทศ ไชยคำภา. (2543). ภาษาพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวัน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระปลัดปรีชา คนฺธโก. (จุลโพธิ์). (2552).วิเคราะห์การพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันด้วยหลักพุทธธรรม: กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและมติชน.พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ธรรม
นิเทศ).บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.ภาคภูมิ หรรนภา. (2554). การเขียนข่าวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อินทนิล.
สรไน รอดนิตย์. (2539). การวิเคราะห์ภาษาในข่าวของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย. มหาวิทยาลัยรังสิต.
สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. (2544). การศึกษาลักษณะการใช้ภาษาพาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อสร้างแบบฝึกเสริมวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย).มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29