รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด่านนาขาม และภาคีเครือข่าย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม งานวิจัยนี้วิจัยเชิงคุณภาพทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรจากองค์การบริหารส่วนตําบลบ้านด่านนาขาม จํานวน 1 คน ผู้บริหาร จํานวน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน รวมเป็น 12 คนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล หมู่บ้านละ 1 คน รวมเป็น 12 คน กลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน รวมเป็น 12 คน บุคลากรจากโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตําบล จํานวน 1 คน พระสงฆ์จากวัด จํานวน 1 รูป ครูจาก
โรงเรียน จํานวน 1 คน กลุ่มแกนนําการจัดการขยะ จํานวน 1 คน และประชาชนในชุมชน หมู่บ้านละ 2 คน รวมเป็น 24 คน
รวมทั้งหมดจํานวน 66 คน และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือ และการวิจัยเชิงปริมาณ ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากจํานวนครัวเรือนในตําบลบ้านด่านนาขาม จํานวน 12 หมู่บ้าน จํานวน 337 ครัวเรือน และใช้แบบสํารวจปริมาณขยะเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Paired Sample t-test)
ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบที่เหมาะสมจำเป็นต้องอาศัยบทบาท ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการร่วมกันจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการดำเนินการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และจากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ในรูปของคณะกรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมซึ่งประกอบด้วย ชุมชน ส.อบต. รพ.สต.และอสม. อบต. วัด และโรงเรียน โดยมีทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เป็นกลไกเชื่อมประสานภาคี เครือข่ายและให้ความรู้และกระบวนการที่ถูกต้องในการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมตามหลักวิชาการ จากการเปรียบเทียบ พบว่า ก่อนทดลองใช้รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมมีปริมาณขยะมูลฝอยมากกว่า หลังทดลองใช้รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุป รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบ้านด่านนาขามและภาคีเครือข่าย เป็นการดึงบทบาทของแต่ละภาคีเครือข่ายมาร่วมกันจัดการขยะ และมี รูปแบบการจัดการขยะโดยกําหนดคณะกรรมการดําเนินงานที่ชัดเจนเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการ จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยความสําเร็จในการทําให้มีการลดการผลิต ขยะ ใช้ซํ้า รีไซเคิล ซ่อมแซม และเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุ ดังนั้น การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมอย่างมี ประสิทธิภาพควรให้ความสําคัญกับการใช้บทบาทของภาคีเครือข่ายในชุมชนนั้น ๆ เพื่อผลักดันให้เกิด การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ