ภาพลักษณ์จากบทบาทตามสถานภาพของตัวละครเอกฝ่ายหญิงที่ปรากฏในนวนิยายที่ได้รับรางวัลของชมัยภร แสงกระจ่าง
คำสำคัญ:
Keywords : The Images, Female Main Characters, Chamaiporn Saengkrajangบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์จากบทบาทตามสถานภาพของตัวละครเอกฝ่ายหญิงที่ปรากฏในนวนิยายที่ได้รับรางวัลของชมัยภร แสงกระจ่าง จำนวน 5 เรื่อง โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ สถานภาพและบทบาท บุคลิกภาพ ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสังคม และวิถีการดำเนินชีวิต ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ของตัวละครเอกฝ่ายหญิงในนวนิยายที่ได้รับรางวัล ของชมัยภร แสงกระจ่าง ทั้ง 5 เรื่อง พบว่า ตัวละครเอกฝ่ายหญิงมีสถานภาพที่หลากหลายในฐานะบุตร ภรรยา มารดา และฐานะทางวิชาชีพ โดยด้านบุคลิกภาพ พบว่า บุคลิกภาพภายนอกของตัวละครเอกฝ่ายหญิงส่วนใหญ่มีความงดงามสมวัย ส่วนด้านบุคลิกภาพภายใน พบว่า ส่วนใหญ่อุปนิสัยของตัวละครเอกฝ่ายหญิงสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ด้านปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสังคม พบว่า ส่วนใหญ่ตัวละครเอกฝ่ายหญิงมีการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ด้านวิถีการดำเนินชีวิต พบว่า ตัวละครเอกส่วนใหญ่ยึดแนวปฏิบัติคำสอนทางศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต
คำสำคัญ: ภาพลักษณ์, ตัวละครเอกฝ่ายหญิง, ชมัยภร แสงกระจ่าง
References
______ . (2553). ดั่งดาวระยิบฟ้า. กรุงเทพฯ: คมบาง.
______ . (2554). ผลิบานในวันร้อน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คมบาง.
______ . (2556). จับต้นมาชนปลาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คมบาง.
______ . (2558). หยาดน้ำค้างพันปี. กรุงเทพฯ: คมบาง
นวลอนงค์ สุวรรณเรือง. (2544). สถาบันครอบครัวในนวนิยายของชมัยภร แสงกระจ่าง : แนวคิด และวิธีนำเสนอ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประดับ ภูมิลา. (2542). บุคลิกภาพตัวละครเอกสตรีในนวนิยายของทมยันตีช่วง พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2529. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2545). วิถีชีวิต วิถีสู้ ขบวนการภาคประชาชนร่วมสมัย. เชียงใหม่: ตรัสวิน.
ภัทรพร หงส์ทอง. (2538). การศึกษาแนวคิดสตรีนิยมในนวนิยายของทมยันตีระหว่างพุทธศักราช 2506-2534. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีวิน ธรรมรังรอง. (2537). บุคลิกภาพสตรีในนวนิยายที่ได้รับรางวัลของกฤษณา อโศกสิน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุชาติ สวัสดิ์ศรี. (2518). นักเขียนหนุ่ม : ความบันดาลใจอันหลากหลาย. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
สุภาพ วรโคตร (2542). สตรีทัศในนวนิยายของศรีบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ