การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, พุทธิปัญญา, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา&ขยายผล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) การประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 5) การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบแผนการวิจัยแบบทดลอง 1 กลุ่ม กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/11 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2561 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้และแบบบันทึกสะท้อนผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีองค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (Motivation) ขั้นที่ 2 สำรวจและศึกษาบทอ่าน (Exploration) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์บทอ่าน (Critical thinking) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Construction of knowledge) ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ (Application) 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 5) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA ผลจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า
2.1 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
นอกจากนี้ การขยายผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ พบว่า
1) นักเรียนกลุ่มขยายผลมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์. (2559). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คริสโตเฟอร์ จอห์นสัน. (2551). การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนชาวไทย. กรุงเทพฯ :
ส.การเจริญการพิมพ์.
จิตตรา พิกุลทอง. (2559). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรม
หลักสูตรและการเรียนรู้บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). “การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต.” ปรัชญาดุษฎี
บัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดวงใจ บุญยะภาส.(2559). “การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบประสานสัมพันธ์ครอบครัวและโรงเรียนเพื่อ
พัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3.” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ
วิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพนธ์ เรืองณรงค์และคณะ. (2545). กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่2 (4-6). กรุงเทพฯ :ประสานมิตร.
ศศิณัฏฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2559). “การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาจีน
เพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สสวท. (2559). สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์.(ออนไลน์). เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2560. เข้าถึงจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2015summaryreport/
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553).แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย จำกัด.
อลงกรณ์ พรมที.(2556). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมเรื่องคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าและการแพร่กระจายสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า.” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Driver, R.H. and Bell, (1986). Students thinking and the learning of science: A constructivist
view. The School Review 67 (240) :443-456.
Joyce, B and Well, M. (1986). Model of Teaching. (3 ed.). London: Prentice-Hall.
Joyce, Bruce., Weil, Marsha. and Calhoun, Emily. (2009). Models of Teaching. New York: Pearson
Education, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ