ผลของการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยม เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • อุสมาน สะอิด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยมของกลุ่มทดลอง 2) เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยม 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยม และกลุ่มควบคุมเข้ารับการเรียนวิชาเพิ่มเติมในวิชาหน้าที่พลเมือง กิจกรรมลูกเสือและกิจกรรมชุมนุม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าวที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 (2) โปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวจำนวน 10 ครั้งๆ ละ 60 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคาเฉลี่ย

ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์และการทดสอบของวิลคอกซัน (Wilcoxon’s Matched Pairs Signed Rank Test) ผลการวิจัย พบว่า

  1. นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยมหลังการทดลองมีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. ระดับพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้แนวคิดพฤติกรรมนิยมมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 30.10 ระดับกลาง
  3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

คำสำคัญ: การปรึกษาแบบกลุ่ม, พฤติกรรมก้าวร้าว

เผยแพร่แล้ว

2020-12-14