แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาจีน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เพ็ญพรรษา ชัยธีระสุเวท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

สมรรถนะการสื่อสาร, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ภาษาจีน, ลำปาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เป็นชุดโครงการที่รวบรวมการศึกษาจากโครงการวิจัยย่อย 3 งานวิจัย ได้แก่ (1) การพัฒนาทักษะภาษาจีนเพื่อการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทย (2) ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาคู่มือล่ามทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยนักท่องเที่ยวชาวจีน และ (3) นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์ภาษาจีน ผ่านระบบ QR Code เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สามารถสรุปผลการศึกษาประจำชุดโครงการได้ดังนี้ บทเรียนและคู่มือสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน Virtual Reality (VR) ต่างเป็นแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาจีน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง ซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มสมรรถนะการสื่อสารภาษาจีนให้กับผู้ส่งสารที่เป็นผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับช่องทางการสื่อสารภายในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้รับสารที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาจีนสามารถกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง สร้างอุปนิสัยการใฝ่เรียนใฝ่รู้ รวมถึงพัฒนาการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้ใช้งานได้   

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ. (MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 - 2569). สืบค้น 14 พฤษภาคม 2564, จาก https://hss.moph.go.th/fileupload/2560-102.pdf
ขวัญจุฑา คำบันลือ, วิวัฒน์ มีสุวรรณ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วย เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19 (1), 184-193.
จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, ทรงศรี สรณสถาพร และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาล โดยใช้บทเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(2), 98-122.
จิดาภา ศรียะวงษ์, พิกุล สายดวง และชญาณ์นันท์ ปิติกรพวงเพชร. (2559). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบอาชีพนวดแผนไทยในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 227-241.
จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา และคณะ. (2559). การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี QR ในพิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1427-1436.
จุฑาวรรณ วรงค์. (2559). การออกแบบสื่ออินเตอร์แอคทีฟ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมไทย กรณีศึกษาวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2408-2423.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2547). กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ของประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 41-74.
เดชา ตาละนึก, สำราญ ขันสำโรง, วิสุทธิชัย ไชยสิทธิ, ปั่น อะทะเทพ และพระครูใบฏีกาทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน: กรณีศึกษา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(2), 294-312.
ธิรนันท์ วัฒนโยธิน และนุชากร คงยะฤทธิ์. (2562). ป้ายอัจฉริยะเชื่อมโยงการท่องเที่ยววิถีชุมชน. การประชุมวิชาการระดับชาติ: วิชาการรับใช้สังคม ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 15-16 สิงหาคม 2562 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ธันยา พรหมบุรมย์ และนฤมล กิมภากรณ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัฒนธรรม และสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 71-87.
นฤมล วงษ์เดือน, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์, นันทิยา ดวงภุมเมศ และสิรินทร พิบูลภานุวัธน์. (2547). สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14, 22 กุมภาพันธ์ 2556, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2372-2380.
นิติศักดิ์ เจริญรูป (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริม (AR-Code) เพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 10(1), 13-30.
นิชธาวัลย์ ฟูคำ และเพ็ญพรรษา ชัยธีระสุเวท. (2563). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์ภาษาจีน ผ่านระบบ QR Code เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (รายงานผลการวิจัย). ลำปาง: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ปวันรัตน์ นิกรกิตติโกศล. (2559). การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ประกอบการ้านขายของที่ระลึก ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21 (2), 110-122.
ไพศาล กาญจนวงศ์ และอาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติเพื่อบริการข้อมูลให้นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร เชียงใหม่. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 120-134.
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). Strategic Health Tourism Management in Thailand. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.cm.mahidol.ac.th/program/ms/index.php/ms-news-announcement/14-ms-news/22-strategic-health-tourism-management-in-thailand
ศศิปภา ทิพย์ประภา. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการใช้ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารสำหรับวิสาหกิจชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 12 (1), 54-66.
สิรภัทร โสตถิยาภัย, นันยนันต์ เตชวณิช และขวัญเรือน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2561). ผลการสอนอย่างมีแบบแผนต่อสมรรถนะการสื่อสารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 36-50.
สิริรัตน์ วาวแวว. (2563). การพัฒนาทักษะภาษาจีนเพื่อการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทย (รายงานผลการวิจัย). ลำปาง: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สุกัญญา แซ่โก. (2563). ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาคู่มือล่ามทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยนักท่องเที่ยวชาวจีน (รายงานผลการวิจัย). ลำปาง: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สุวพิชญ ตั๋นตะพันธ. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้ใหญ่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(1), 20-34.
สุนันทา แก้วพันธ์ช่วง. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมทางภาษาเพื่อการสื่อสาร (รายงานผลการวิจัย). เลย: โรงเรียนเซไลวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2.
Hutchinson & Waters. (2010). English for Specific Purposes A Learning-centered approach. Cambridge University Press.
Nunan, D. (1988). The Learner Centered Curriculum Cambridge. Cambridge University Press.
P. Jomsri. (2016). The Development of Virtual Museum for Thai Style Houses in Four Regions. International Journal of Information and Education Technology, 6(5), 410-413.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competency at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.
The Global Wellness Institute. (2018). Asia-Pacific Wellness Tourism Economy. Access 14 May 2021, from https://globalwellnessinstitute.org/industry-research/asia-pacific-wellness-tourism/
Zhao, J. & Jiang, L. (2011). Chinese as a Second Language Classroom. Beijing: Peking University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28