นวัตกรรมการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสังคม

Main Article Content

อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษานวัตกรรมการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสังคม โดยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเนื้อหาการเล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia) เพื่อสื่อสารประเด็นสังคม ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการออกแบบเนื้อหาสื่อสารหลากช่องทาง สร้างประสบการณ์จากการรับรู้เนื้อหาสามารถนำไปสู่การลงมือทำพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมนั้นได้ในชีวิตจริง โดยการสร้างเนื้อหาหลากรูปแบบพัฒนาการเปิดโลกเนื้อหา (Entry Point) ของการเล่าเรื่องข้ามสื่อด้วยปฏิสัมพันธ์บนสื่อออนไลน์ สำหรับการกลุ่มเป้าหมายอายุ 18-24 ปี กรอบการเล่าเรื่องที่เน้นความสนุกและตั้งคำถามต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในสังคม ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่าเรื่องและผู้รับสารได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และการมีเนื้อหาและกิจกรรมประเภท “FAN CONTENT” ที่ท้าทายให้ทำเนื้อหาร่วมกันเพื่อกลับมาแลกเปลี่ยนกันบนสื่อออนไลน์ช่วยกระตุ้นการลงมือทำได้


ดังนั้นแล้วรูปแบบของการพัฒนากระบวนการสื่อสารแบบการเล่าเรื่องข้ามสื่อทำให้เห็นถึงกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม รวมไปถึงการใช้ประสบการณ์ที่หลากหลายเชื่อมผู้รับสารที่มีความสนใจที่แตกต่างเข้าสู่แก่นของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสารข้ามสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสังคมที่สำคัญ โดยการเล่าเรื่องให้คนเกิดความรู้สึกร่วมด้วยการเชื่อมโยงประสบการณ์จากเนื้อหาสู่ชีวิตจริง จากนั้นมีเนื้อหาที่ทำให้คิดตาม คิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และ คิดถึงสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ ให้ทางออกกับการแก้ปัญหา เชิญชวนให้คิดว่าจะทำอะไร นำไปสู่การออกแบบกิจกรรม และการใช้สื่อเพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้รับสารได้ลงมือทำบางอย่างทั้งต่อเนื้อหาและต่อประเด็นนั้นในชีวิตจริง


บทความวิจัยนี้ศึกษานวัตกรรมการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสังคม โดยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเนื้อหาการเล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia) เพื่อสื่อสารประเด็นสังคม ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการออกแบบเนื้อหาสื่อสารหลากช่องทาง สร้างประสบการณ์จากการรับรู้เนื้อหาสามารถนำไปสู่การลงมือทำพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมนั้นได้ในชีวิตจริง โดยการสร้างเนื้อหาหลากรูปแบบพัฒนาการเปิดโลกเนื้อหา (Entry Point) ของการเล่าเรื่องข้ามสื่อด้วยปฏิสัมพันธ์บนสื่อออนไลน์ สำหรับการกลุ่มเป้าหมายอายุ 18-24 ปี กรอบการเล่าเรื่องที่เน้นความสนุกและตั้งคำถามต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในสังคม ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่าเรื่องและผู้รับสารได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และการมีเนื้อหาและกิจกรรมประเภท “FAN CONTENT” ที่ท้าทายให้ทำเนื้อหาร่วมกันเพื่อกลับมาแลกเปลี่ยนกันบนสื่อออนไลน์ช่วยกระตุ้นการลงมือทำได้


ดังนั้นแล้วรูปแบบของการพัฒนากระบวนการสื่อสารแบบการเล่าเรื่องข้ามสื่อทำให้เห็นถึงกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม รวมไปถึงการใช้ประสบการณ์ที่หลากหลายเชื่อมผู้รับสารที่มีความสนใจที่แตกต่างเข้าสู่แก่นของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสารข้ามสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสังคมที่สำคัญ โดยการเล่าเรื่องให้คนเกิดความรู้สึกร่วมด้วยการเชื่อมโยงประสบการณ์จากเนื้อหาสู่ชีวิตจริง จากนั้นมีเนื้อหาที่ทำให้คิดตาม คิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และ คิดถึงสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ ให้ทางออกกับการแก้ปัญหา เชิญชวนให้คิดว่าจะทำอะไร นำไปสู่การออกแบบกิจกรรม และการใช้สื่อเพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้รับสารได้ลงมือทำบางอย่างทั้งต่อเนื้อหาและต่อประเด็นนั้นในชีวิตจริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สกุลศรี ศรีสารคาม (2559) การกำหนดวาระข่าวสารแบบข้ามสื่อกับการใช้ข้อมูลจากผู้ใช้สื่อ (User-generated Content) เพื่อการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม.กรุงเทพฯ: โครงการมีเดียมอนิเตอร์ แหล่งทุนสนับสนุนวิจัย โครงการสื่อมวลชนศึกษาในยุคการเปลี่ยนผ่านของสื่อและสังคม (Media Monitor Project) มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (Foundation for Media Studies)
สกุลศรี ศรีสารคาม. (2560). การพัฒนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ การวิจัยผลิตและสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565). กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
สกุลศรี ศรีสารคาม. (2561). การพัฒนานวัตกรรมเชิงเนื้อหาด้วยกลยุทธ์การเล่าเรื่องข้ามสื่อสำหรับรายการโทรทัศน์. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. ปีที่ 12 (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน), 193-225.
Brough, M.M. & Shresthova, S. (2011) Fandom meets activism: Rethinking civic and political participation, Transformative Works and Cultures, 10.
Castells, Manuel. 2012. Networks of outrage and hope: social movements in the internet age. Cambridge: Polity.
Lim, Merlyna. 2012. “Clicks, Cabs, and Coffee Houses: Social Media and Oppositional Movements in Egypt, 2004-2011.” Journal of Communication, 62: 231-248.
Dookhoo, S. (2015). How Millennials Engage in Social Media Activism: A Uses and Gratifications Approach. สืบค้นจาก https://stars.library.ucf.edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=&httpsredir=1&article=2363&context=etd
Hancox, D (2014). 5 Examples of Transmedia Storytelling and Activism. Retrived from http://www.thewritingplatform.com/2014/04/5-examples-of-transmedia-storytelling-and-activism/
Jenkins, H., Ford, S., Green, J. & Green, J.B. (2012) Spreadable media: Creating value and meaning in a networked culture, New York: NYU Press.
Pratten. R. (2011). Getting Started with Transmedia Storytelling: A Practical Guide for beginners. CreateSpace.
Shirky, Clay. 2011. “The Political Power of Social Media: Technology, the Public Sphere, and Political Change.” Foreign Affairs 90.1: 28-41.
Williams, D.L., Crittenden, V.L, Keo, T. & McCarty, P. (2012). The use of social media: an exploratory study of usage among digital natives. Journal of Public Affairs, 12(2), 127-136. สืบค้นจาก https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1125099.pdf