การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ดวงจันทร์ แก้วกงพาน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • จิตตยา สมบูรณ์มากทรัพย์ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาธิตา สิริโรจนงาม นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ชิสาพัชร์ ชูทอง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • วีรนุช คฤหานนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สมศักดิ์ ก๋าทอง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ศรีไพร กุณา โรงเรียนบ้านแม่โต๋ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2

คำสำคัญ:

ชุมชนเป็นฐาน, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้, นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบริบทชุมชนเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐานสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ศึกษาความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ และศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอกัลยาณิวัฒนา เครืองมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์บริบทของชุมชน แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภูมิปัญญา ผ้าทอชนเผ่า แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที t - test for dependent sample

ผลการวิจัยพบว่าการนำภูมิปัญญาทอผ้าชนเผ่าที่มีความโดดเด่นของชุมชนมาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน มีทั้งหมด 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 ประเภทของเส้นใย กิจกรรมที่ 2 กระบวนการและวิธีการสัดสีจากธรรมชาติ กิจกรรมที่ 3 การตรวจสอบคุณสมบัติของสีย้อมแต่ละชนิด และกิจกรรมที่ 4 กระบวนการในการย้อมสีเส้นฝ้ายจากสีธรรมชาติ สำหรับคะแนนความรู้ความเข้าใจทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ภาพรวมมีค่าเท่ากับ (µ.=.2.35, σ =.0.39) อยู่ในระดับดี และความพึงพอใจ ภาพรวมมีค่าเท่ากับ (µ.=.4.52, σ =.0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กล้า ทองขาว. (2561). การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช. (2550). สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์นำไปสู่...การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

เกษสุดา คำลุน และคณะ. (2556). ผลการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิฆเนศวร์สาร, 9(1),11-20.

คงอมร เหมรัตน์รักษ์ และคณะ (2565) สภาพและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมในชุมชนเขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา, 12(1),1-17.

เชิดชัย อมรกิจบำรุง. (2548). การสร้างแบบประเมินทักษะการปฏิบัตัการทดลองทางวิทยาศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม เขตสาทรกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน และคณะ. (2562). การออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(3), 397-414.

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

ธีรดา สมพะมิตร และคณะ. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชาติพันธุ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 . วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(18), 67-87.

นูรไอนี ดือรามะ และณัฐินี โมพันธ์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 12(22), 77-91.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประเวศ วะสี. (2550). การเรียนรู้ใหม่ไปให้พ้นวิกฤต. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประสานมิตร.

เยาวพา นันต๊ะภูมิ และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกรอบแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(3), 15-28.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ 21. กรุงเทพฯ: ตถาดาพับลิเคชั่น.

วีระพงษ์ แสง-ชูโต. (2559). ปรัชญาวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: ภิรมย์กิจการพิมพ์.

สุวิจักขณ์ อธิคมกุลชัย. (2554). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Veridian E-Journal, SU, 5(1), 412-437.

แสงงาม นิธิภคพันธ์ และคณะ. (2564). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning: CBL) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุตรดิตถ์, 11(1), 111-125.

เผยแพร่แล้ว

2022-09-28