แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเกษตรกรภาคตะวันออกตามคุณลักษณะเกษตรกรรุ่นใหม่ : ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์, สมรรถนะเกษตรกร, พัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะปัจจุบันและสมรรถนะพึงประสงค์ตามคุณลักษณะเกษตรกรรุ่นใหม่ : ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ในพื้นที่ภาคตะวันออก เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะเกษตรกรตามคุณลักษณะเกษตรกรรุ่นใหม่: ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ในพื้นที่ภาคตะวันออกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี โดยมีกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ เกษตรกรรุ่นใหม่: ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ภาคตะวันออก จำนวน 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ เกษตรกรรุ่นใหม่ : ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ปี พศ. 2566 จังหวัด ระยอง จำนวน 10 คน จังหวัดจันทบุรี 10 คน และจังหวัดตราด 10 คน รวมทั้งหมด 30 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าความต้องการจำเป็น
ผลวิจัยพบว่าสภาพสมรรถนะเกษตรกรปัจจุบันของ เกษตรกรรุ่นใหม่: ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเป็น 3.34 ( =3.34) คิดเป็นร้อยละ 67.51 และสภาพสมรรถนะเกษตรกรพึงประสงค์ของ เกษตรกรรุ่นใหม่ : ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเป็น 4.71 (=4.71) คิดเป็นร้อยละ 95.09 สำหรับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะเกษตรกรภาคตะวันออกตามคุณลักษณะเกษตรกรรุ่นใหม่ : ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการเกษตรที่ยั่งยืน ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน แนวทางการจัดการเกษตรที่เน้นความเป็นธรรม แนวทางการตระหนักรู้ถึงความเป็นอยู่ที่ดี แนวทางการรับผิดชอบต่อการรักษ์โลก และแนวทางการใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน รวมเป็น “SMART” นำไปสู่ เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). Young smart farmer อนาคตและทิศทางภาคเกษตรกรไทย. กรมส่งเสริม การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.ictc.doae.go.th/wpcontent/uploads/2017/11/YSF_compress.pdf
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). กระบวนทัศน์พัฒนศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
แผนพัฒนาภาคตะวันออก พ.ศ. 2560 -2565 ฉบับทบทวน. (2562). สภาพทั่วไป. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7527
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐชา อิสระกุล และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2562). การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ของเกษตรกรรุ่นใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธิรดา วงษ์กุดเลาะ. (2561). แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้น 30 ตุลาคม 2565, จาก https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ผลผลิตทุเรียนแยกตามจังหวัด ปี 2565. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://mis-app.oae.go.th/product/
สนธยา พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
CEDARAFRICA. (2022). Steps to Implementing Culture Change in an Agile/VUCA World. Retrieved 2 January 2022, from https://cedarafricagroup.com/culture-change-in-an-agile-world/.
Siti Fatimahwati Pehin Dato Musa, and Khairul Hidayatullah Basir. (2022). Smart farming: towards a sustainable agri-food system. British Food Journal, 123(9), 3085-3099.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ