ความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบริหารจัดการสมองของเด็กปฐมวัยสำหรับครูผู้ดูแลเด็ก

ผู้แต่ง

  • อรพร ทับทิมศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประสงค์ สายหงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย, ครูผู้ดูแลเด็ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร จำนวน 25 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 5 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 323 คน รวมทั้งสิ้น 353 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้โดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการหาค่าเฉลี่ย สูตรคำนวณด้วยเทคนิค Modified Priority Need Index หรือ (PNImodified)

ผลการวิจัยพบว่า  ความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก มีดังนี้ ความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 3 อันดับแรก พบว่า 1. ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (PNI = 1.07) 2. สามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย (PNI = 0.84) และ 3. สามารถนำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ไปพัฒนาเด็กปฐมวัย  (PNI = 0.83) และตามลำดับ

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.(2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2561). คู่มือพ่อแม่ พัฒนาทักษะสมอง EF-Executive Functions ตั้งแต่ปฏิสนธิ-3 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).

ประเสริฐ ผลผลิตการพิมพ์. (2560). EF อย่างสั้นที่สุด. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.rlg-ef.com.

ระวีวรรณ ทิพยานนท์, รับขวัญ ภูษาแก้ว และ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (2565). ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัย ตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts), 42, 88-97.

สาวิตรี อภัยโส และศุภกร ศรเพชร. (2561). สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของครู ผู้ดูแลเด็ก สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอศรีสงคราม และอำเภอบ้านแพงจังหวัดนครพนม. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 8(2), 45-53.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์และเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28