กลไกการมีส่วนร่วมและมาตรการในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

"A COMPARISON OF GOVERMENT SCHOOLS AND ISLAMIC PRIVATE SCHOOLS IN THE FIVE SOUTHERN BORDER PROVINCES ON 'SOCIAL SUPPORT,' PARTICIPATION MECHANISMS, A ND MEASURESs TO PREVENT NEW SMOKERS"

ผู้แต่ง

  • สุไรยา หนิเร่ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • สุรชัย ไวยวรรณจิตร โรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์
  • รุ่งโรจน์ ชอบหวาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • โรฮาณีย์ ปูเต๊ะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

แรงสนับสนุนทางสังคม, นักสูบหน้าใหม่, การมีส่วนร่วม, จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการมีส่วนร่วมและมาตรการในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เปรียบเทียบโรงเรียนของรัฐ กับ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ถึงมาตรการในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ มีวิธีการวิจัย โดยการสัมภาษณ์ ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียน บุคลากรทางการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ตลอดจนผู้นำศาสนา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงเรียนของรัฐ กับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตั้งอยู่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย

ผลการวิจัย พบว่า ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีความตระหนักต่อปัญหาการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนอย่างมาก โดยเฉพาะความกังวลของการเป็นนักสูบหน้าใหม่ในประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า โรงเรียนมีกลไกในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่อยู่บ้างแล้วแต่อาจจะยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร เช่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ระบบ Student Care ส่วนชุมชนอาจมีบางชุมชนรณรงค์ผ่านคุตบะฮ์ (ละหมาดใหญ่ประจำสัปดาห์ของมุสลิม คือละหมาดวันศุกร์) เป็นต้น ส่วนกลไกสนับสนุนทางสังคมที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า บ้าน (ครอบครัว/ผู้ปกครอง) โรงเรียน และชุมชน ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการหนุนเสริมการเข้าไปกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ได้หากร่วมมือกันอย่างจริงจัง

References

จีรภัทร์ รัตนชมภู และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2563). การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ สังคมไทยต้องเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 12 (1), 13- 27.

เชิดพงษ์ งอกนาวัง และ ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2564). ผลการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขในโรงเรียนแก้งคร้อวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ, วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(1), 265-276.

ซอฟียะห์ นิมะ และ อัสฮา อดุลย์รอหมาน. (2562). รูปแบบการป้องกันและควบคุมยาสูบในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มทูร พูลสวัสดิ์ ไมตรี จันทรา และ นพรัตน์ ชัยเรือง. (2555). แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพัทลุง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์โครงการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 4(2), 41-57.

สุบันโญ จีนารงค์ และ อับดุลรอฮ์มาน จะปะกิยา. (2557). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลามกับรูปแบบการบริหารจัดการหรือแนวทางการดำเนินงานในโรงเรียนเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบกับ นักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cho, J.H., Shin, E., & Moon, S.S (November 2011). “Electronic-cigarette smoking experience among adolescents”. Journal of Adolescent Health, 49(5), 542-546.

Danielsan, Anne G. (2009). School-Related Social Support and Students Perceive Life Satisfaction. The Journal of Educational Research, 102(4), 303-308.

House, J.S. (1981). Work Stress and Social Support. Reading, Mass: Addison-Wesley.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-11