แนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ตามเกณฑ์ EdPEx: กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์

Main Article Content

อรุณศรี กางเพ็ง
ทองสุข ศีรี
อรกัญญา เบ้าจรรยา
ศรัญย์ลภัส ลิศนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศไปสู่การปฏิบัติ  2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดผลลัพธ์ (KPIs) การดำเนินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนการสอน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคในการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญคือ (1) บุคลากรขาดความรู้ความข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์ EdPEx (2) ขาดการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (3) ตัวชี้วัดขาดความเชื่อมโยงผลงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (4) ขาดการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจของเกณฑ์ EdPEx และ(5) แผนการดำเนินงานด้านงบประมาณไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ EdPEx 2) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดผลลัพธ์ (KPIs) พบว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศตามเกณฑ์ EdPEx จำนวน 5 ด้าน 127 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านกระบวนการ 58 ตัวชี้วัด ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า 13 ตัวชี้วัด ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 23 ตัวชี้วัด ด้านการนำองค์การ และการกำกับดูแล 15 ตัวชี้วัด และด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด 18 ตัวชี้วัด และ3) แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการนำเกณฑ์คุณภาพ EdPEx  ที่สำคัญ คือ (1) จัดอบรมให้ความรู้ด้านเกณฑ์คุณภาพ EdPEx (2) ให้ตัวแทนนักศึกษาทุกสาขาวิชาได้มีส่วนร่วมดำเนินการเพื่อบรรลุตามตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งในการวางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน และปรับปรุง (3) กําหนดเป็นตัวชี้วัดเชื่อมโยงผลงานด้าน QA เข้ากับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ผลการดําเนินงาน โบนัส และความดีความชอบ (4) สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจของเกณฑ์ EdPEx ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และ(5) จัดทำแผนการดำเนินการด้านงบประมาณและการเงิน ตัวชี้วัดเชิงรวมของการควบคุมต้นทุนความมั่นคงทางการเงิน และผลการดำเนินการด้านงบประมาณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563-2566. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.

คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. (2562). ประกาศผลการคัดเลือกเบื้องต้น (screening) รุ่นที่ 6. http://www.edpex.org/2019/01/screening-6.html

ภาวนา กิตติวิมลชัย, วรลักษ์ ศรีอนันต์, สุรีรัตน์ โล่อภิรักษ์กุล, คมสัน พันธุ์ชัยเพชร, เอกลักษณ์ ขาวประภา และสุรวุธ พุ่มอิ่ม. (2555). การศึกษาเพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ (KPIs) ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และปัญหาอุปสรรคในการนำเอาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการไปสู่การปฏิบัติ. https://qm.kku.ac.th/files/01-2555822150339-phanch-1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561: แนวทางที่เป็นระบบสู่การปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์การ. https://onedrive.live.com/?authkey=%21AJugj7wyssluf0U&cid=580A1DF0F121D8D8&id=580A1DF0F121D8D8%211508&parId=580A1DF0F121D8D8%21113&o=OneUp

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Creswell, J.W. (2015). A Concise Introduction to Mixed Methods Research. Thousand Oaks: SAGE.