การพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการนิเทศแบบสอนแนะ 2) ออกแบบและพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะ 3) ทดลองใช้การนิเทศแบบสอนแนะ และ4) ประเมินผลและปรับปรุงการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ด้วยการวิจัยและพัฒนา และประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 6 คน และนักเรียน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการนิเทศแบบสอนแนะ แผนการสอนแนะ ปฏิทินการสอนแนะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบแบบประเมิน แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสอบถาม และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบวิลคอกซัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การนิเทศแบบสอนแนะดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การออกแบบและพัฒนาการสอนแนะ การทดลองหาประสิทธิผลของการนิเทศแบบสอนแนะ และประเมินและปรับปรุงการนิเทศแบบสอนแนะ มีกระบวนการโค้ช 8 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและกำหนดประเด็นการพัฒนา ขั้นที่ 2 การเตรียมการด้านความรู้และทักษะการปฏิบัติการสอนแนะ ขั้นที่ 3 การร่วมมือกันวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการสอนแนะ ขั้นที่ 5 การทบทวนระหว่างกระบวนการและอภิปรายไตร่ตรองสะท้อนคิด ขั้นที่ 6 การดำเนินการปฏิบัติการสอนแนะต่อ ขั้นที่ 7 การทบทวนไตร่ตรองสะท้อนคิดและสรุปผล ขั้นที่ 8 การประเมินผลการสอนแนะร่วมกัน 2) สมรรถภาพการนิเทศแบบสอนแนะ และการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์หลังการใช้รูปแบบการสอนแนะสูงกว่าก่อนการนิเทศแบบสอนแนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และครูมีความเห็นว่า การนิเทศแบบสอนแนะที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รวมทั้งนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงค์ศักดิ์. (2552). การคิดเชิงวิเคราะห์ Analytical Thinking. เอกสารประกอบการศึกษาอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับกลางของกระทรวงมหาดไทย.
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). รูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง. (2555). การพัฒนารูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูพาณิชยกรรม. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนแนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผดุงชาติ สุวรรณวงศ์ และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2542). ทิศทางการปฏิรูปการอุดมศึกษาของในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ที พี พริ้นท์ จำกัด.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบหลากหลายวิธีการเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูเขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). การนิเทศการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัพพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ (2564). รายงานผลการจัดการศึกษา พ.ศ. 2563. กาฬสินธุ์ (เอกสารอัดสำเนา).
องอาจ นัยพัฒน์. (2553). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aseltine, M.J., and others. (2006). A Performance-Based Approach to Teacher Development and School Improvement: Supervision for Learning, ASCD.
Banathy, B.H. (1968). Instructional System. Belmont, Calif. Fearon,
Bartlett II, James E. (2007). Advances in Coaching Practice: A Humanistic Approach to Coach and Client Roles. Journal of Business Research, 60: 91-93.
Dick, Walter, Lou Carey and James O. Carey. (2005). The Systematic Design of Instruction. 6th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Danielson, C., and others. (2010). Implementing the Framework for Teaching in Enhancing Professional Practice. Boston: ASCD.
Glatthorn, Allan A. (1990). Supervisory Leadership: Introduction to Instructional Supervision. Illinois: Scott, Foreman and Company.
Glickman, C.D., Stephen, P. Gordon, and others. (2010). Super Vision and Instructional Leadership: A Developmental Approach. 8th ed. Boston: Allyn and Bacon, Inc.
Kruse, k. (2010). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. http://www.transformativedesigns. com/ id_systems.html.
Sweeny, Barry W. (2009). Defining the Distinctions Between Mentoring & Coaching. http://www.mentoring-association.org/memberonly/DefM&Coach2.html.
Trilling and Fadel. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Out Times. Jossey-Bass A Wiley Imprint.
Wiles and Bondi. (2004). Supervision: A Guide to Practice. 6th ed. New Jersey: Pearson Merrill Prentice-Hall.