การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

ธีร์ ภวังคนันท์
สุกิจ โพธิ์ศิริกุล
วรวิทย์ กุลจิรกาญจน์
ทินกร ภาคนาม
สุรพล ทับทิมหิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 410 คน โดยการสุ่มแบบโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์แบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 และ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัย พบว่า  สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทุกด้าน โดยด้านการเรียนรู้เป็นทีมมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงเป็นอันดับแรก (PNI modified=0.38) รองลงมา ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (PNI modified=0.37)  การบูรณาการความหลากหลาย  (PNI modified=0.36)  การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะกับบริบท (PNI modified=0.34)  การสร้างสภาพแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล (PNI modified=0.33) และความกล้าคิดสร้างสรรค์ (PNI modified=0.32) ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีสัดส่วนการพัฒนาคือ 70:20:10 ได้แก่ ร้อยละ 70 ใช้การฝึกประสบการณ์ในงาน การฝึกประสบการณ์นอกเหนือจากงาน ร้อยละ 20  ใช้กระบวนการ PLC และการให้ข้อมูลย้อนกลับ และร้อยละ 10 การฝึกอบรม และมีขั้นตอนการพัฒนา คือ ขั้นที่ 1 การฝึกอบรม ขั้นที่ 2  การบูรณาการในการปฏิบัติงาน และขั้นที่ 3 การติดตามผลและประเมินผลหลังการพัฒนา

Article Details

How to Cite
ภวังคนันท์ ธ., โพธิ์ศิริกุล ส., กุลจิรกาญจน์ ว., ภาคนาม ท., & ทับทิมหิน ส. (2022). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 1(2), 35–46. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IEJ/article/view/263079
บท
บทความวิจัย

References

สมชาย เทพแสง. (2557). ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้: รูปแบบของภาวะผู้นำสมัยใหม่. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 10(9), 1-11.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Curtis, T.A. (2012). Leading and learning: Leadership, change, and challenge in a professional development initiative. http://search.proquest.com/docview/1010625210?accountid=44809

DuFour, R., DuFour, R., & Eaker, R. (2008). Revisiting professional learning communities at work: New insights for improving schools. Bloomington, IN: Solution Tree.

Erdogen, M. (2010). Sustainability in higher education: A needs assessment on a course “Education and awareness for sustainability”. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching, 11(1), 1-20.

Faber, E.I. (2009). Learning leadership: Exploring the development and reflections of undergraduate student leaders. https://search.proquest.com/docview/304853131?accountid=44809

Ferdous, T. and Razzak, B.M. (2012). Importance of training needs assessment in the banking sector of bangladesh: A case study on national bank limited (NBL). International Journal of Business and Management, 7(10), 63-73.

Hauer, J. and Quill, T. (2011). Educational needs assessment, development of learning objectives, and choosing a teaching approach. Journal of Palliative Medicine, 14, 503-508.

Inc.McCauley, C.D. (1986). The Center for Creative Leadership: Handbook of Leadership Development. San Francisco : Jossey-Bass Publishers.

International Mine Action Standards (IMAS). (2005). Data collection and needs assessment. https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/6014196F2EC43D3B8525714F006A1D01-imas-2gen-nov05.pdf

Jolouch, A., Martinez, M. and Badia, J. (2013). Leadership for 21st Century Learning. New York: OECD Publishing.

Kangpheng, S. & Kunlong, S. (2016). 21st Century Curriculum Leadership Model. Teaching Documents for Course 210208, Curriculum Management and Teaching: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Kangpheng, S. & Kunlong, S. (2017). The Curriculum Leadership Model for the 21stCentury. Mahasarakham: Apichat Printing.

Khong-ngam, S., Wongwanich, S., and Piromsombat, C. (2014). Principals’ and Teachers’ Use of Evaluation Results for Student Learning in Science. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116 (2014) 1902 – 1907, doi:10.1016/j.sbspro.2014.01.492

Kouzes, J. M. and Posner, B.Z. (2016). The Leadership Challenge: How to Get Extraordinary Things Done in Organizations. United States of America: Jossey-Bass.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Maxwell, J.C. (1999). The 21 Indispensable Qualities of a Leader : Becoming the Person Others will Want to follow. Nashrille, TN: Thomas Nelson,

Metheney-Fisher, L. (2012). Learning to lead: How leaders in higher education learn to lead. https://search.proquest.com/docview/1033339903?accountid=44809

Noe, R.A., Hollenbeck, John R., Barry, Gerhart L. Wright, and Patrick M. (2011). Fundamentals of Human Resource Management. United Kingdom : McGraw-Hill.

Northouse, P.G. (2007). Leadership: theory and practice . 4th ed. Thousand Oaks : SAGE Publications.

Rabin, R. (2014). Blended Learning for Leadership : The CCL Approach. Greensboro : Center for Creative Leadership.