การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุขสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบันฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ สภาพปัญหา ความต้องการสื่อการสอนการใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข 2) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข 3) ประสิทธิผลของเว็บแอปพลิเคชัน การใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาและความต้องการความต้องการสื่อการสอนการใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข จากนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข โดยผู้วิจัยนำผลจากขั้นตอนที่ 1 และทบทวนวรรณที่ผ่านมาเพื่อออกแบบและสร้างนวัตกรรม ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของเว็บแอปพลิเคชัน โดยประเมินจากนักศึกษา ก่อนและหลังใช้เว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบความรู้การใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บแอปพลิเคชัน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .67 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .80 และ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการสื่อการสอน การใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข คือ เนื้อหาค่อนข้างยาก ซับซ้อน และต้องใช้ความรู้ด้านสถิติสาธารณสุขร่วมด้วยทำให้เกิดความสับสนในการเขียนคำสั่ง สื่อประกอบการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ต้องการสื่อที่มีเนื้อหาการใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุขที่สามารถนำไปใช้ได้จริง มีคำอธิบายที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และใช้งานได้ง่าย มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง มีภาพเคลื่อนไหว 2) เว็บแอปพลิเคชันการใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) หน้าหลัก ในการเข้าสู่บทเรียน 2) บทเรียน จำนวน 4 บท และ3) แบบทดสอบหลังเรียน 3) หลังการใช้เว็บแอปพลิเคชันการใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข พบว่า คะแนนหลังใช้เว็บแอปพลิเคชัน (M=12.52, SD=2.67) มากกว่าก่อนใช้ (M=7.26 , SD=2.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .001 (p<.001) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บแอปพลิเคชัน พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้เว็บแอปพลิเคชัน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมาก ( = 4.31) และด้านการออกแบบมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมาก ( = 4.18) จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า เว็บแอปพลิเคชันการใช้คำสั่ง SQL ในการจัดทำสถิติสาธารณสุข เป็นสื่อการสอนและทบทวนให้กับนักศึกษาได้มีการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนคำสั่ง SQL โดยตัวแอปจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำสั่ง SQL ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการเขียนคำสั่งที่ยากๆ ซึ่งในตัวแอปมีการจัดทำหน้าต่างเมนูที่น่าสนใจและสามารถเลือกบทที่ต้องการได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย มีคลิปวิดีโอตัวอย่างในการเขียนคำสั่ง SQL ประกอบ ทั้งนี้เนื่องจากเว็บแอปสามารถเข้าถึงได้ง่ายสามารถเปิดใช้งานได้สะดวกและทบทวนบทเรียน SQL ได้ในทุกที่ทุกเวลา
Article Details
References
Jongburanasit, S. (2019). The use of ADDIE Model for the Improvement and Development of Teaching and Learning Chinese Language to Conform with the Learning in the 21st Century. The 2nd National Conference on humanities and social sciences, 667-679. Faculty of Humanities and Social Sciences, Songkhla Rajabhat University.
Ngamwannakorn, C. (2019). Development of a Learning Application on Mobile Device in English for Information Officer. [Yala Rajabhat University]. https://wb.yru.ac.th/handle/yru/5356
Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act B.E. 2542 and Amendments (No. 2) B.E. 2545. https://www.bic.moe.go.th/images/stories/ 5Porobor._2542pdf.pdf
Onthuam, Y. (2019). The organization of data for statistics. Journal of Health Research, 1(1), 61–68.
Phongcharoen, C. (2017). Effects of Using Problem Solving Process with Web Application for Education to Enhance Web Programming Ability in Matthayom 5 Students. [Master of Education, Silpakorn University]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1509/1/58257401.pdf
Prewthaisong, K. (2016). Comparison of Learning Achievement of Undergraduate Mechatronics Engineering Students by Learning Online E-learning Course on Fuzzy Logic. Journal of Thonburi University,10(2), 1-7.
Rattapakdee, N. and Nonsila, J. (2021). Development of a LINE Chat bot for Searching Public Health Statistics Definitions and Formulas of Diploma of Medical Record Students. [Bachelor of Public Health Program in Medical Record, Kanchanabhisek College of Medical and Public Health Technology, Faculty of Public Health and Allied Health Sciences, Praboromarajchanok Institute].
Retrieved from https://human.skru.ac.th/husoconference/conf/P7.pdf
Suwanno, P. (2020). The Development of Application Learning in Educational Research on the Android operating system for fourth year Student Yala Rajabhat. E-Journal of Media Innovation and Creative Education, 3(1), 38-49.