การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาทักษะการฟัง - พูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วาสิตา มากละม้าย
กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังภาษาจีนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาจีน จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่ม (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการฟังภาษาจีนเรื่อง 食物 อาหาร 3) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาจีน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Single Sample t- test) ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา อำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานีมีทักษะการฟังภาษาจีนหลังการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา อำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี มีทักษะการพูดภาษาจีนหลังการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
มากละม้าย ว. ., & ยิ่งดำนุ่น ก. . (2024). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเน้นภาระงานร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาทักษะการฟัง - พูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 3(3), 15–32. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IEJ/article/view/275947
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานดา สุขสวัสดิ์. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=184264&bcat_id=16.

โชคชัย เตโช. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณุรัตน์ แย้มฉาย. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพล จันทร์กระจ่างแจ้ง และสันติพงษ์ ทองดี. (2564). “การพัฒนาทักษะการจดจําคําศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลวิธีลินซ์ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม”.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 3 (กันยายน - ธันวาคม), 33-43.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2527). การทดสอบแบบอิงเกณฑ์: แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ๊นส์ดิ้งเฮาส์.

ปรียนันท์ ทวีรัตน์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับสื่อประสมที่มีต่อความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกอบกาญจน์ศึกษามูลนิธิจังหวัดสงขลา. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตร์มหาบัณทิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา. (2563). รายงานประจำปีและรายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา. ปัตตานี. (เอกสารสำเนา).

สุชาดา ปิติพร. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในวิชาภาษาไทย (สาระที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม) โดยใช้กระบวนการกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุริยะ หาญพิชัย. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มในรายวิชาสถานการณ์โลก ปัจจุบัน. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 4 ฉบับที่ 1.

เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต .(2565). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 33 ฉบับที่ 1.

อรวรรณ สินารุณ. (2560). การสอนภาษาที่เน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและความมั่นใจ ในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Ellis, R. (2003). Task-Based Language Learning and Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Krashen, S., and Terrell, T. (1983). The Natural Approach: Language Acquisition in the Classroom. Oxford: Pergamon.

Willis, D., and Willis, J. (2007). Doing Task-Based Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Slavin, R.E. (1990). Cooperative Learning: Research and Practice. Englewood Cliffs,NJ: Prentice-Hall.

Qiu, X., & Xu, J. (2022). " Listening should be done communicatively": Do task-supported language teaching and post-task self-reflection facilitate the development of L2 listening proficiency? System, 109, 102897.

Wei, R., & Zhao, X. (2024). Effects of task-based language teaching on functional adequacy in L2 writing. Assessing Writing, 60, 100838