การพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม
คำสำคัญ:
อาชีวศึกษา, อุตสาหกรรม, เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม, ทุนมนุษย์บทคัดย่อ
ปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ขึ้นมาเป็นจำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนามูลค่า และคุณค่า (Value Creation) ให้ตรงจุด เพิ่มมูลค่า เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่เป้าหมาย การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value–Based Economy) ซึ่งส่งผลต่อการผลิตกำลังอาชีวศึกษาที่ต้องปรับรูปแบบการผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวนโยบายสำหรับการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ซึ่งได้รวบรวมจากงานวิจัยและบทความวิชาการต่าง ๆ ที่แสดงแนวทาง กลยุทธ์ และกลไกต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ ปฏิบัติได้ในทุกระดับเพื่อการกำลังคนอาชีวศึกษาคุณภาพสูง ประกอบไปด้วยหัวข้อ 1) ผลิตนวัตกรเพื่อสร้างนวัตกรรม 2) สร้างผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ 3) สร้างระบบการเรียนทวิภาคีเชิงรุกที่เป็นเลิศ และ 4) พัฒนาทุนมนุษย์ทุกช่วงวัย (Lifelong Learning) ด้วยการเพิ่มและพัฒนาทักษะต่าง ๆ (Re-skills, Up-skills, New skills) พร้อมรับมือวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New normal) ท่ามกลางวิกฤติของการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ของแรงงานและกำลังคนทุกระดับ ซึ่งแนวทางต่าง ๆ นี้มีประโยชน์และสำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไปสู่ประเทศที่แข่งขันด้วยความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่า
References
สมพร ปานดำ. (2563). ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทอุตสาหกรรมรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 33 (116), 22-28.
Giles, Sunnie. (2018). “How VUCA Is Reshaping The Business Environment, And What It Means For Innovation” [Online]. Available: https://www.forbes.com. [Accessed: April. 27, 2021].
ประสาท มีแต้ม, “ทำให้โลกของเรายิ่งใหญ่อีกครั้ง : Make Our Planet GreatAgain” [Online]. Available: http://www.life.ac.th/2017/index. php/component/k2/item/543-make-our-planet-great-again.. [Accessed: 20 เมษายน 2564].
ธนาคาร คุ้มภัย. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้1, 5 (1), 33-41.
นรรัชต์ ฝันเชียร, “การส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อรับมือกับโลกยุค VUCA” [Online]. Available: https://www.trueplookpanya.com/blog/content/76134/-blog-teaartedu-teaart-. [Accessed: 23 เมษายน 2564].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, “สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)” [Online]. Available: http://www.library.coj.go.th/Info/ 48341?c=7236996. [Accessed: 2 เมษายน 2564].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). โครงการศึกษาเพื่อทบทวนความต้องการกำลังคนเพื่อใช้วางแผนการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟิก จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). อนาคตภาพของการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาตามความต้องการของตลาดแรงงานและทิศทางการพัฒนาประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด,.
สมพร ปานดำ. (2563). ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทอุตสาหกรรมรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 32 (116), 22-28.
สมพร ปานดำ. (2562). เอกสารวิจัยส่วนบุคคล แนวทางการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสู่การสร้างผู้ประกอบการใหม่. กรุงเทพฯ :วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62.
สมพร ปานดำ. (2563). การพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Journal of MCU Nakhondhat วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7 (8), 381-397.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT