การพัฒนาชุดเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบบเน้นการมีส่วนร่วมในโครงการประกวดคลิปวีดิทัศน์เรื่อง “ทุนนี้เพื่อน้อง ทุนนี้เพื่ออนาคต”
คำสำคัญ:
ชุดเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์, ทุนนี้เพื่อน้องทุนนี้เพื่ออนาคต, เน้นการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของชุดเนื้อหา และกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์แบบเน้นการมี ส่วนร่วมในโครงการประกวดคลิปวีดิทัศน์เรื่องทุนนี้เพื่อน้องทุนนี้เพื่ออนาคตเพื่อประเมินการรับรู้และประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดเนื้อหาเพื่อการพัฒนาชุดเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบบเน้นการมีส่วนร่วมในโครงการประกวดคลิปวีดิทัศน์เรื่องทุนนี้เพื่อน้องทุนนี้เพื่ออนาคต 2) แบบประเมินคุณภาพด้าน เนื้อหา และด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินการรับรู้ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างสำหรับประชากร ที่ใช้ในการศึกษาการพัฒนาชุดเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์แบบเน้นการมีส่วนร่วมในการประกวดคลิปวีดิทัศน์ เรื่อง “ทุนนี้เพื่อน้อง ทุนนี้เพื่ออนาคต” คือ นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา ETM 202 Advertising and Public Relations จำนวน 90 คนในภาคการศึกษาที่ 1/2562 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา ETM 202 ที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ ประกวดคลิปวีดิทัศน์สั้น เรื่อง “ทุนนี้เพื่อน้อง ทุนนี้เพื่ออนาคต” คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ตั้งแต่ต้นจนจบและยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 คนซึ่งผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพ ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (= 4.75, S.D. = 0.44) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก (= 4.63, S.D. = 0.49) ผลประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.70, S.D. = 0.54) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58, S.D. = 0.55) ดังนั้นชุดเนื้อหาและกิจกรรม เพื่อการประชาสัมพันธ์ แบบเน้นการมีส่วนร่วมในโครงการประกวดคลิปวีดิทัศน์เรื่องทุนนี้เพื่อน้องทุนนี้เพื่ออนาคต ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้
References
พงศ์ยุทธ์ จั่นทอง, 2562, โครงการประกวดคลิปวิดีโอสั้น หัวข้อ "ทุนนี้เพื่อน้อง ทุนนี้เพื่ออนาคต". คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ, หน้า 1-5.
สุภัค ถาวรนิติกุล, 2557, การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะเกษตร กำแพงแสน, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
IRUNG, 2555, โปสเตอร์ กับ สื่อการเรียนการสอน [Online], Available: https://startted.blogspot.com/2012/10/blogpost.html?fbclid=IwAR2ku9WjMshENXL2XWYJC3_8L41MJ8KhBnfIUjjautORtcPFJYtlBXjohAI, [1 พฤษภาคม 2563].
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์, 2551, “การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิต”, รายงานวิจัย, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Krupee, 2009, เกณฑ์การแปลผลที่เหมาะสมที่สุดของ Rating Scale [Online], Available: http://krupee.blogspot.com/2009/09/rating-scale.html/, [2 มีนาคม 2564].
กตัญชลี ลอยสกุล และคณะ, 2555, การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ บมจ. อสมท โดยระบบป้ายประชาสัมพันธ์ดิจิทัลแบบควบคุมผ่านเครือข่าย, ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า 55-59.
จาริณี อิ้วชาวนา, 2558, โปสเตอร์ (Poster) คืออะไร? [Online], Available: https://en.mahidol.ac.th/thai/computer/manaul_howtomakeposter.pdf?fbclid=IwAR3HAtr3dlzkwY433JVja1IZ3gjMfBpc_-WVTdJDHq-BcwljoyiHQD9jj5Y. [2 พฤษภาคม 2563].
จุฑามาศ สุดธง และปิยะวรรณ มันตาวิทย, 2558, การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง คู่มือการอัพเดทหนังสือข่าวประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร บริษัท อสมท จํากัด(มหาชน), ปริญญา เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า 98-104.
ปภัสสร อินทเดช, ณภัทร ดีเย็น และธัญชนก พิมมหา, 2562, การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ สาระบันเทิงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า บทคัดย่อ.
ปรมาพรรณ รวยสำราญ, 2560, การพัฒนาสื่อโมชัน กราฟิกร่วมกับการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ผ่านสื่อและกิจกรรมพิเศษของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่องเตาแม่เหล็กไฟฟ้า, วิทยานิพนธ์ ปริญญาเทคโนโลยีมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า บทคัดย่อ.
ปิยะดนัย วิเคียน, 2559, ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวีดิทัศน์ [Online], Available: https://krupiyadanai.wordpress.com/computer4/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1/%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C/?fbclid=IwAR1UmP71VaePifEgc4b6VsotuUuCb6pcktE2eSCv1xwkh3-oxLQw__15RoQ. [1 พฤษภาคม 2563].
สัมมนาออนไลน์, 2557, สื่อสังคมออนไลน์, ความหมาย, ประเภท, เครื่อง-อุปกรณ์,ประโยชน์-ข้อจำกัด [Online], Available: http://smforedu.blogspot.com/ 2014/02/blog-post.html. [1 พฤษภาคม 2563].
โสพัฒน์ โสภาภิมุข, 2556, การสร้างบทเรียนมัลติมีเดียแอนิเมชั่น เรื่อง ศีล 5, วิทยานิพนธ์ ปริญญาเทคโนโลยีมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์ เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า 77-90.
Kurt, S., 2018, ADDIE Model: Instructional Design [Online], Available: https://educationaltechnology.net/the-addie- model-instructional-design/. [1 มีนาคม 2564].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT