อิทธิพลของค่าดัชนีสปริงและอุณหภูมิอบของโลหะผสมจำรูปที่มีผลต่อประสิทธิภาพเครื่องจักรกลความร้อนออฟเซ็ทแครงค์
คำสำคัญ:
โลหะผสมจำรูป, ค่าดัชนีสปริง, เครื่องจักรกลความร้อนออฟเซ็ทแคร็งค์, กระบวนการอบบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของค่าดัชนีสปริงและอุณหภูมิอบของโลหะผสมจำรูปที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องจักรกลความร้อน โดยใช้ลวดโลหะผสมจำรูปขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 mm เพื่อสร้างสปริงที่มีค่าดัชนี (D/d) เท่ากับ 7, 9 และ 11 ต่อมานำสปริงผ่านกระบวนการอบที่อุณหภูมิ 350, 400 และ 450oC เป็นเวลา 30 min แล้วจุ่มลงในน้ำเย็นทันที จากนั้นนำสปริงทดสอบแรงคืนตัวด้วยการทดสอบแรงดึงและทดสอบอุณหภูมิการเปลี่ยนโครงสร้างผลึกด้วยเทคนิค Differential Scanning Calorimeter (DSC) หลังจากที่ได้เงื่อนไขของสปริงที่เหมาะสมแล้ว นำสปริงติดตั้งกับเครื่องจักรกลความร้อนแบบออฟเซ็ทแคร็งค์ โดยเครื่องจักรกลความร้อนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 522 mm เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 120 mm ระยะออฟเซ็ท 50 mm มุมออฟเซ็ท 30o ความยาวสปริงหดสุดและยืดสุดที่ 60 mm และ 160 mm ตามลำดับ สปริงถูกติดตั้งในแนวเฉียงตลอดเส้นรอบวงของเครื่องจำนวน 9 แถว แต่ละแถวมีสปริง 16 ชิ้น จากผลการทดลองพบว่าสปริงที่มีดัชนี (D/d) เท่ากับ 7 อบที่อุณหภูมิ 400oC มีแรงคืนตัวของสปริงสูงสุดเท่ากับ 3.254 N อุณหภูมิการเปลี่ยนโครงสร้างผลึกเป็นออสเทนไนต์สิ้นสุดอยู่ที่ 62oC โดยมีช่วง Hysteresis อยู่ที่ 15oC เมื่อนำสปริงไปติดตั้งกับเครื่องจักรกลความร้อนพบว่าที่อุณหภูมิน้ำ 75oC เครื่องจักรกลความร้อนสามารถสร้างแรงบิดได้สูงสุด 1.380 N.m กำลังทางกลเท่ากับ 1.391 W และประสิทธิภาพทางกลสูงสุดคือ 0.42% กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ผลิตได้เท่ากับ 0.255 W และประสิทธิภาพทางไฟฟ้าสูงสุดคือ 18.32%
References
Zou CN, et al. 2016. Energy revolution: From a fossil energy era to a new energy era, Natural Gas Industry, http://dx.doi.org/10.1016/j.ngib.2016.02.001
Malhotra, Ripudaman. 2020. Fossil Energy. 10.1007/978-1-4939-9763-3.
Malhotra R. 2013. Fossil Energy, Introduction. In: Malhotra R. (eds) Fossil Energy. Springer. New York. NY. https://doi.org/10.1007/978-1-4614-5722-0_1
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. พลังงานหมุนเวียน. สืบค้น 25 มีนาคม 2564. จาก http://www.e-report.energy.go.th/EPPO_files/ media-05.pdf
กรมทรัพยากรธรณี. การใช้ประโยชน์น้ำพุร้อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า. สืบค้น 26 มีนาคม 2564. จาก http://www.dmr.go.th/n_more_news.php?filename=electric1
กรมทรัพยากรธรณี. น้ำพุร้อนในประเทศไทย. สืบค้น 30 มีนาคม 2564. จาก http://www.dmr.go.th/n_more_news.php?filename=hotthai
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 2012. การจัดการพลังงานความร้อนภายในโรงงาน. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. หน้า 141-162
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2555. การตรวจวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงานหม้อไอน้ำ. กระทรวงพลังงาน. หน้า 11
Ean H. Schiller. 2002. Heat Engine Driven by Shape Memory Alloys: Prototyping and Design. Faculty of Virginia Polytechnic Institute and State University. pp 16-24.
ณัฐ สัมมาวิภาวีกุล, สุชัจจ์ ภูริยากร และ หาญณรงค์ คล้ายสิงห์. 2013. การประยุกต์ใช้วัสดุฉลาดเป็นเครื่องจักรกลความร้อน (ปริญญาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
C.J. De Araújo, N.J. da Silva, M.M. da Silva and C.H. Gonzalez. 2011. A comparative study of Ni–Ti and Ni–Ti–Cu shape memory alloy processed by plasma melting and injection molding. Meterials & Design. 32(1). pp 4925-4930. doi.org/10.1016/j.matdes.2011.05.051
Kasama Srirussamee, Anak Khantachawana, Bunheng Hok and Aphinan Phukaoluan. 2021. Thermomechanical Performance of the Offset Crankshaft Heat Engine Driven by TiNiCu Shape Memory Alloys. Engineering Journal. 25 (2). pp 85-93. DOI:10.4186/ej.2021.25.1.85
Yunan Prawot. S.Manville, T.Sakai, M.Tanaka, and T.Gnauple-Herold. 2020. Manufacturing Process beyond Conventional Plasticity Theory: Case Study in Manufacturing Low Spring index Coil. INTERNATION JOURNAL OF APPLIED TECHNOLOGY RESEARCH. 1 (2). pp.98-109.
H Sadiq, M B Wong, R Al-Mahaidi and X L Zhao. 2010. The effects of heat treatment on the recovery stresses of shape memory alloys. Smart and Structures. 19 (3). pp 1-7. DOI:10.1088/0964-1726/19/3/035021
Ming H. Wu. 2002. Fabrication of Nitinol Materials and Components. Materials Science Forum. 394. pp 285-292. DOI:10.4028/www.scientific.net/MSF.394-395.285
A. Phukaluan, A. Khantachawana, P. Kaewtatip, S. Dchkunakorn, N. Anuwongnukroh, P. Santiwong and J. Kajornchaiyakul. 2011. Property Improvement of TiNi by Cu addition for Orthodontics Applications. Applied Mechanics and Materials. Vol. 87. pp 95-100. https://doi.org/10.4028/www.scientific.net/AMM.87.95
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT