การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ถนิมรักษ์ อัญชันบุตร โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
  • จารุกิตติ์ สิทธิยานนท์ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
  • นุชนาถร เกียรติมิ่งมงคล ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุชานันท์ บุญประเสริฐ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปกรณ์ สุปินานนท์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ประภัสสร วงษ์ดี ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกลุ่มสาระ, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, กิจกรรมการเรียนรู้ สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม, ภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมและสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยการบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) หาคุณภาพชุดกิจกรรมและสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยการบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งสองกลุ่ม และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อวีดิทัศน์ที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมและสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยการบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     2) แบบประเมินคุณภาพของชุดกิจกรรมและสื่อวีดิทัศน์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบบูรณาการวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนบทความเชิงสร้างสรรค์ และ สังคมศึกษา เรื่อง ลักษณะพื้นที่ที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคของโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้จากวิธีเลือกการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 รวม 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรม เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยการบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) “เปิดประตูสู่โลกกว้าง” ลักษณะพื้นที่ที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคของโลก (วิชาสังคม) (2) “หามาแบ่งไป” เรื่องการเขียนบทความเชิงสร้างสรรค์ (วิชาภาษาไทย) (3) ฝึกทักษะ เรื่องการเขียนบทความเชิงสร้างสรรค์หัวข้อลักษณะพื้นที่ที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคของโลก มีการจัดการเรียนรู้ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป สื่อวีดิทัศน์มีความยาว 2.38 นาที เนื้อหาวีดิทัศน์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แสดงออกถึงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยรูปแบบการนำเสนอของวีดิทัศน์ เพิ่มคุณค่าให้กับสถานที่ท่องเที่ยว ให้เกิดความรู้ ความสนุก และให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้ที่ได้รับชม อาทิ สภาพภูมิอากาศ การเกษตร อุตสาหกรรม สถานที่ท่องเที่ยว และรวมไปถึงวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองในสถานที่นั้น ๆ ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับคุณภาพดี ด้านสื่อและด้านกิจกรรมอยู่ในคุณภาพดีมาก และกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2547, เรียนรู้บูรณาการ, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ, หน้า 2, 4, 11-16.

สถาบันทดสอบทางการศึกษา, 2560, ผลคะแนนสอบโอเน็ต [Online], Available: https://web.facebook.com/krooupdatedotcom/posts/901329196636929?_rdc=1&_rdr [7 มิถุนายน 2562].

อดิศร ก้อนคำ, 2551, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ [Online], Available: https://www.kroobannok.com/3735 [7 มิถุนายน 2562].

ภาวิณี เตียนธนา, 2550, การบูรณาการการเรียนภาษาอังกฤษกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับเริ่มเรียน, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562, กลุ่มสารสนเทศ สนผ., [Online], Available: https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1010720097&Area_CODE=101701 [7 มิถุนายน 2562].

เบญญาพร ศรีจันทร์หล้า, 2554, การจัดการศึกษาในระบบไทย [Online], Available: https://sites.google.com/site/darunsitpattanarangsan/sara-na-ru/5-khx-payha-khxng-kar-cadkar-suksa-ni-rabb-thiy [7 มิถุนายน 2562].

ฆนัท ธาตุทอง, 2551, การออกแบบการสอนและบูรณาการ, เพชรเกษมการพิมพ์, นครปฐม, หน้า 21, 29-36, 42-59, 77-126.

เบญจมาศ อยู่เป็นแก้ว, 2548, การสอนแบบบูรณาการ Integrated Instruction, พิมพ์ครั้งที่ 3, ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ Learning Development Centre, กรุงเทพฯ, หน้า 15-17, 20.

ชนาธิป พรกุล, 2551, การออกแบบการสอนการบูรณาการ การอ่านการคิดวิเคราะห์ และการเขียน, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, หน้า 112, 115-121.

ปราณี หลำเบ็ญสะ, การหาคุณภาพเครื่องมือวัดและประเมินผล [Online], Available: [10 มิถุนายน 2562 ].

วราภรณ์ศรีวิโรจน์, 2560, เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 122230 หลักการจัดการเรียนรู้ [Online], Avaiable: http://edu.pbru.ac.th/e-media/08.pdf [10 มิถุนายน 2562].

สุทัศน์ ภาคภูมิ, 2562, Active Learning คืออะไร [Online], Available : http://gg.gg/ugxrt [25 มิถุนายน 2562].

สุคน สินธรพานนท์, 2552, นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง/ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, หน้า 8, 87-199.

ถาวร สายสืบ, 2561, การผลิตสื่อวีดิทัศน์ [Online], Available: http://www.edu.nu.ac.th/wbi/journal/taworn/for_information.pdf [17 มิถุนายน 2562].

นรรัชต์ ฝันเชียร, 2562, Active Learning ในการเรียนการสอน [Online], Available : http://gg.gg/ugxqw [25 มิถุนายน 2562].

กรรณิการ์ พวงเกษม, 2534, การสอนเขียนเรื่องโดยใช้จินตนาการทางสร้างสรรค์ในระดับประถมศึกษา, ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพมหานคร หน้า 160.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2559, วีดิทัศน์ [Online], Available: http://www.royin.go.th/?knowledges=video-วีดิทัศน์ [17 มิถุนายน 2562].

สุคน สินธรพานนท์, 2552, นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ห้างหุ้นส่วนจำจัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง/ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, หน้า 8, 87-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-10