ผลการพัฒนาสื่อประสมและกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการระดมทุน ช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ ขาดแคลนผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือ
คำสำคัญ:
สื่อประสม, กิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์, การเรียนรู้แบบร่วมมือบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยและพัฒนาสื่อและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์การระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิเคราะห์จากผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ ผลการรับรู้และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อประสม และกิจกรรมของผู้จัดโครงการระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ขาดแคลนผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งบูรณาการในรายวิชา ETM 361 ทักษะการนำเสนอ 2 โดยได้พัฒนาเพจเฟซบุ๊ก โปสเตอร์ ธงประชาสัมพันธ์ สื่อไวรัล คลิปวิดีโอ การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมพิเศษแบบไฮบริดในภาวะโควิด – 19 โดยคณะผู้จัดทำโครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาสื่อและกิจกรรม นำไปใช้ และประเมินผล ตามรูปแบบ ADDIE Model ในภาคการศึกษาที่ 1/2560-2563 ผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนร่วมกัน ดำเนินการตามแผน วิเคราะห์งานที่ทำ นำเสนอผลงาน และประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของสื่อและกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าอยู่ในระดับ ดีมาก ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อและกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าอยู่ในระดับดีมาก ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีต่อสื่อและกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมาก - มากที่สุด และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อและกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมาก - มากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย นอกจากนี้ยังพบว่า ผลประเมินผลสะท้อนกลับของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับดี โดยผู้จัดเห็นว่ากิจกรรมการระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ฯ ขาดแคลนเป็นประโยชน์ทั้งผู้จัดและต่อเพื่อนนักศึกษา เป็นการจัดกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ สรุปได้ว่าผลการพัฒนาสื่อประสมและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ฯ ขาดแคลนผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือมีคุณภาพดี มีผลประเมินสะท้อนกลับจากผู้เรียนในระดับดี สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง
References
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 2559, หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, เอกสารอัดสำเนา, หน้า 2-3.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช, 2562, การจัดการเรียนรู้, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, หน้า 24 – 25.
ชนมน ตั้งพิทักษ์ไกร, เมธินี วงศ์วานิช, รัมภกาภรณ์ และ สุชาวดี เกษมณี, 2558, “การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (การงานอาชีพ1) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุงกรุงเทพมหานคร”, วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review), ปีที่ 30, ฉบับที่ 3, (กันยายน-ธันวาคม 2558), หน้า 158-167.
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2563, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา : http//FIET.kmutt.ac.th/ประวัติ - วิสัยทัศน์ -พันธกิจ), [18 ตุลาคม 2564].
ศักดิ์ กองสุวรรณ, กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, เพียงเพ็ญ จิรชัย, พรปภัสสร ปริญชาญกล, ธฤดี เจษฎานุรักษ์กิจ และอัญชลี วงศ์สัมปัน, 2564, “การพัฒนาชุดเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์แบบเน้นการมีส่วนร่วมในโครงการประกวดคลิปวีดิทัศน์ เรื่อง “ทุนนี้เพื่อน้อง ทุนนี้เพื่ออนาคต”, วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, (มกราคม - มิถุนายน 2564), หน้า 72-79.
Princhankol, P. and Thamwipat, K., 2018, “The Development of Media and Special Event through Cooperative Learning to Raise Funds for Students with Financial Difficulties at Faculty of Industrial Education and Technology”,International Education Studies, Vol.11., No.11, pp. 88 – 94.
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, 2561, โครงการ พลังใจสีฟ้าสู่สากล, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/groups
/310483269578143, [22/10/2564].
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 2562, โครงการพลังใจสีฟ้าพิพัฒน์อนาคต, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/groups/ 1350520771763914, [22/10/2564].
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 2563, โครงการ เสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพในการจัดกิจกรรมพิเศษแบบไฮบริด, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/groups
/350760679649373. [22/10/2564].
Binbai, S., 2016, [Online], Available: https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2016/02/e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b884e0b8a3e0b8b2e0b8b0e0b8abe0b98ce0b887e0b8b2e0b899e0b8a7e0b8b4e0b888e0b8b1e0b8a2-e0b898.pdf. [ 22/10/2564].
Kurt, S., 2018, ADDIE Model, Instructional Design [Online], Available: https : // educationaltechnology.net/the-addie-model-instructional – design/, [22/10/2564].
Branch, R. M., 2009, “Instructional Design”, The ADDIE approach, Vol. 722, Springer Science & Business Media, p.1.
Diyen, N., Thamwipat, K. and Princhankol, P., 2021, “The Development of an Interactive learning Resource along with Contents on a Social Network to promote Bangchan Subdistrict of Petchaburi Province through the way of Buddhism”, International Education Studies, Vol. 14., No.6., pp. 1 – 11.
ปรเมษฐ์ ศรีทาสังข์ และคณะ, 2557, จิตวิทยาสำหรับครู [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา : http: //Sites.google .com/site/group1 class52557/6-khna-phv-cad-tha, [22/10/2564].
ศิริวิไล พูลเจริญ, 2555, การพัฒนาชุดสื่อเฉพาะกิจและสื่อบนนิวมีเดีย เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า ข.
สกล แก้วศิริ, 2559, “การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในการดำเนินการงานวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่”, พิฆเนศวร์สาร, ฉบับที่ 12, ปีที่ 1. มกราคม – มิถุนายน. หน้า 115 – 128.
The Glossary of Education Reform, 2016, 21 st Century Skills [Online], Available: http: //edglossary.org/21 st-century-skills/, [22/10/2564].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์
- ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
- การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด
- บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT