การศึกษาความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้แต่ง

  • เพียงเพ็ญ จิรชัย ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปกรณ์ สุปินานนท์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วนิดา บัวทิพย์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

ความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรค, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคและเพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 305 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t–test  การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว One-way ANOVA (F–test) และการเปรียบเทียบรายคู่เชิงพหุคูณด้วยวิธี LSD  ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรค โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.79, SD = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความรับผิดชอบต่อปัญหาอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.87, SD = 0.48) รองลงมาคือ ด้านความอดทน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.79, SD = 0.39) ด้านการควบคุมสถานการณ์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.77, SD = 0.45) และด้านผลกระทบ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.71, SD = 0.42)   2) ผลการเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากร พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงและเพศชายมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกัน ศึกษาอยู่ในภาควิชาที่แตกต่างกัน   มีอาชีพผู้ปกครองที่แตกต่างกัน และมีรายได้ครอบครัวที่แตกต่างกันมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคแตกต่างกัน แต่ไม่พบความแตกต่างของความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฟันฝ่าอุปสรรคในตัวแปรสถานภาพครอบครัวที่แตกต่างกัน

References

โรงเรียนนายเรือ, 2558, ความหมายของ Q ทั้ง 7 ตัว คือ IQ EQ CQ MQ PQ AQ และ SQ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.rtna.ac.th/pages/7q.html, [26/11/2561].

Stoltz, P. G., 1997, “Adversity Quotient”, Turning obstacles into opportunities, John Wiley & Son Inc., New York.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, 2562, แผนกลยุทธ์ฉบับที่ 12, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.fiet.kmutt.ac.th/home/index.php/about-faculty/--12, เข้าดูเมื่อวันที่ 19/12/2562.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2562, สถิตินักศึกษาปัจจุบันที่ลงทะเบียนเรียน/สถานภาพนักศึกษาภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://regis.kmutt.ac.th/service/statsb161.php?clearcache=Y, [24/10/2562].

Yamane, T., 1973, “Statistics”, An Introduction Analysis, 3rd ed., Time Printer, Singapore.

จิราภรณ์ วงษ์เกิด, 2558, รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค (AQ) ของนักศึกษา ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า 40.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์, 2545, เทคนิคการสร้าง IQ EQ AQ 3Q เพื่อความสำเร็จ, สถาบันสร้างสรรค์ ศักยภาพสมองครีเอตีฟเบรน, กรุงเทพฯ.

Cronbach, L. J., 1970, Essentials of Psychological Test, 5th ed., Harper Collins Publishers Inc., New York.

สุธิดา พลชำนิ, 2550, การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บทคัดย่อ.

อารีย์ ขันติธรรมกุล, 2552, ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ตามทฤษฎีของสตอลทซ์, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.east.spu.ac.th/journal/booksearch/upload /1389-009_sripatum.pdf, [29/11/61].

สิรีย์ลักษณ์ ไชยลังกา, 2557, “ความมั่นคงทางอารมณ์และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา”, วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, ฉบับที่ 15, ปีที่ 2, (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557), หน้า 30-39.

Oberteuffer, D., 1954, School Education, Harper and Brothers, New York.

ธิดา ฐิติพานิชยางกูร, 2550, ปัจจัยบางประการที่ ส่งผลต่อความมั่นคงทางอารมณ์และความสามารถ ในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต3, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บทคัดย่อ.

พรรณธิพา ธีระโรจนพงษ์, 2555, “ความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวกับเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, ฉบับ7, ปีที่ 1), (พฤษภาคม – ตุลาคม 2555), หน้า 17-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31