การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัยเชิงคุณภาพในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • นันทิยา บุญศรีนุ้ย โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
  • ชุติมา สุวรรณศรี โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
  • เจนจิรา ทิพย์ญาณ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒

คำสำคัญ:

โครงงานฐานวิจัย, การวิจัยเชิงคุณภาพ, ชั้นเรียนแบบออนไลน์, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนวิชาการศึกษาและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation : IS1) และรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation : IS2) สามารถจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานฐานวิจัย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในยุคดิจิทัล โดยครูผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และเลือกใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ตลอดเวลา และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โครงงานฐานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research – Based Learning) เป็นแนวทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบออนไลน์ การจัดการเรียนรู้ในลักษณะนี้เป็นการเตรียมผู้เรียนให้เผชิญกับสภาพการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการอย่างแท้จริง

References

มนธิชา ทองหัตถา (2564). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช, วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, มกราคม – มิถุนายน 2564, หน้า 43 – 52.

วัฒนา รัตนพรหม (2561). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย, วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2,กรกฎาคม – ธันวาคม 2561, หน้า 37 – 60.

สุภางค์ จันทวานิช (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล, วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม – ธันวาคม 2564, หน้า 1 – 11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30